Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2341
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การผลิตสารสกัดจากธัญพืชงอกเชิงพาณิชย์ |
Other Titles: | Commercial production of germinated cereal extract |
Authors: | ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล ชลมารค พ่วงวีระกุล |
Keywords: | ธัญพืช -- แง่โภชนาการ;มอลต์สกัด;ผลิตภัณฑ์ -- การผลิต |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | มอลต์ธัญพืช 23 สายพันธุ์ แบ่งเป็นมอลต์กลุ่มข้าว จำนวน 12 สายพันธุ์ มอลต์กลุ่มธัญพืชเมืองหนาวรวมถึงมอลต์กลุ่มถั่วและละมอลต์กลุ่มงา จำนวน 11 สายพันธุ์ ที่ได้ผ่านกระบวนการม้อลติ้ง พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณวิตามินบี 1ในอัตราสูงสุดเท่ากับ 1.2-10.5 เท่าและเพิ่มปริมาณสารกาบาได้สูงสุดเท่ากับ 1.3-5.4 เท่าในระยะการงอก48-84 ชั่วโมงสำหรับมอลต์กลุ่มข้าว และ 8-28 ชั่วโมง สำหรับมอลต์กลุ่มธัญพืชเมืองหนาว ถั่วและงาแปรผันตามสายพันธุ์ ผลการศึกษาปริมาณสารในกลุ่ม phytochemicals พบการเปลี่ยนแปลงทั้งลดลง คงที่ และเพิ่มขึ้น โดยพบการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแอนโธไซนินเท่ากับร้อยละ -1.3-122 อะราบิโนไซแลนร้อยละ -9.1-10 เบต้ากลูแคน ร้อยละ -5.6-4 วิตามินซีร้อยละ -14-230 แคโรทีนอยด์ร้อยละ -70-662 ในขณะที่พบการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นของคลอโรฟิลล์ร้อยละ 2.6-108 สารฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 11-347 และค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับร้อยละ 10-1777 สำหรับผลการศึกษาปริมาณแร่ธาตุ พบการเปลี่ยนแปลงทั้งลดลง คงที่ และเพิ่มขึ้น โดยพบการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเหล็ก เท่ากับร้อยละ-87-31 โพแทสเซียมร้อยละ -58-7 แมกนีเซียมร้อยละ -12-8 โซเดียมร้อยละ -38-15 ทองแดงร้อยละ -22-17 สังกะสีร้อยละ -81-1.7 ในขณะที่ พบการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นของแคลเซียมเท่ากับร้อยละ 4-29 และฟอสฟอรัสร้อยละ 2-77 แปรผันตามสายพันธุ์ ในการผลิตแป้งมอลต์สกัดสารอาหารสูงจากธัญพืช 23 สายพันธุ์ สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ธัญพืชให้เหลือ 9 สายพันธุ์ได้โดยพิจารณาจากข้อมูลโภชนาการ สารสำคัญร่วมกับสมบัติทางกายภาพตรงตามข้อกำหนดที่ต้องการผลิตเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องดื่มพบว่าจัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ มีค่าพีเอชเท่ากับ 6.84 มีปริมาณวิตามินบีหนึ่ง สารกาบา ปริมาณใยอาหาร และแคลเซียมในระดับที่สูงกว่าข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย (Recommended Daily Dietary Allowances for Healthy Thais) กำหนดให้บริโภคต่อวันและไม่พบจุลินทรีย์ทุกชนิดทั้งในกลุ่มที่ทำให้อาหารเสื่อมเสียและในกลุ่มก่อโรค ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บรักษาได้นานที่อุณหภูมิห้องและมีความปลอดภัยต่อการบริโภค ผลการดำเนินงานไปสู่เชิงพาณิชย์ ได้มีการจำหน่ายผงแป้งมอลต์ธัญพืชสกัดเข้มข้นสารอาหารสูงที่เตรียมจากมอลต์ธัญพืช 9 สายพันธุ์ ให้กับบริษัททิปโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด ในการนำไปผลิตเป็นเครื่องดื่มเนเจอร์อัพชนิดใหม่ จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ เลขที่ อย. 14-2-00248-2-0140 และเลขที่อย. 14-2-00248-2-0142 ผลการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบที่ได้ขยายการปลูกในจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยาและนครปฐมในลักษณะของ contact farming มีการควบคุมปริมารการใช้เคมีอย่างเป็นระบบ ตรวจไม่พบสารพิษtotal aflatoxin, B1, B2, G1 และ G2 ตรวจไม่พบสารเคมีตกค้างทั้งในกลุ่มยาปราบศัตรูพืช และสารฆ่าแมลง ในทุกกลุ่ม ตรวจไม่พบ organochlorine, pyrethriod, organophosphorus และ pesticide residue carbamate รวมถึงตรวจไม่ พบการปลอมปนทางพันธุกรรม ยืนยันได้ถึงความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ผลิต ผู้แปรรูป และบริโภคอย่างครบวงจร |
metadata.dc.description.other-abstract: | Twenty-three varieties of cereal, rice malts, temperated crops including legume, sesame seeds were malted using malting process. Their malt nutrition characteristics were studied and compared to those of unmalted cereals. It was found that sprouting promoted the increasing of vitamin B1 as 1.2-10.5 times and GABA as 1.3-5.4 times at germinated period of the 48-84th hours for rice malt and 8-28th hours for temperate crops including legume and sesame seeds were different due to varieties. The changes of content in phytochemicals; anthocyanin (-1.3-122%) , arabinoxylan (-9.1-10%) , betaglucan (-5.6-4%), vitamin C (-14-230) and carotenoid (-70-662%) were detected increasing, stable and decreasing. Whereas vitamin B1, GABA, chlorophyll (2.6-108%), total phenolics (11-347%) and efficient concentration EC50 (10-1777%) were increased. It was found that the changes of content in bioavailability of minerals; iron (-87-31%), potassium(-58-7%), magnesium (-12-8%), sodium (-38-15%), copper (-22-17%) and zinc (-81-1.7%)were also detected increasing, stable and decreasing whereas calcium (4-29%) and phosphorus (2-77%) were increased different due to varieties. Production of high nutritional cereal extract flour from 23 varieties of cereal grains was selected for 9 varieties of cereal for industrial scale production because their nutrition, phytochemicals content and physical properties corresponded to specification of healthy beverage product. The final product was classified to low acid food. The pH was 6.4. The chemical composition of the product especially, vitamin B1, GABA, fiber and calcium were higher than Thai RDI criteria. For microbiological quality, the results showed that both types of food spoilage and pathogens were not detected. Therefore, this product could kept for long time storage at room temperature and safety for consumption. The overall commercial operation of for producing high nutritional cereal extract flour from 9 cereal malt varieties were also sold to Tipco F&B Co., Ltd., for producing the new healthy beverage in the brand of Nature Up for 2 products; FDA No. 14-2- 00248-2-0140 and No. 14-2-00248-2-0142, respectively. For the raw materials quality expansion in the three provinces; Pathum Thani, Phra Na Khon Si Ayutthaya and Nakhon Pathom in contact farming system, the results showed that total alflatoxin, B1, B2, G1, G2, pesticides , organochlorine, pyrethriod, organophosphorus, carbamate pesticide residue and GMOS screening were not detected. The gaining benefits were to guarantee the quality and safety for the farmers, entrepreneurs and consumers completely in product cycle. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2341 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | BiT-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
YUPAKANIT PUANGWERAKUL.pdf | 9.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.