Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2359
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยผลของเจลต้านสิวที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากเห็ดเรืองแสง (Neonothopanus nambi) ต่อปัจจัยในการก่อสิวของเชื้อ Staphyloccus spp.
Other Titles: Effects of anti-acne gel containing luminescent mushroom extracts (neonothopanus nambi) on factors cause acne of staphylococcus spp.
Authors: สุกัลญา หลีแจ้
นันทพงศ์ ขำทอง
อัมพรรัตน์ ประไพวงศ์
Keywords: เห็ดเรืองแสง วิจัย;สิว -- การรักษาด้วยสมุนไพร;เห็ด -- แง่การแพทย์
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: สารสกัดจากเห็ดเรืองแสง (Neonothopanus nambi) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้หลายชนิด และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุของสิวและฝีหนองได้ดีมาก การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำสารสกัดจากเห็ดเรืองแสงมาพัฒนาเป็นเจลต้านสิว และทดสอบประสิทธิภาพของเจลในการลดปัจจัยการก่อสิวของเชื้อ Staphylococcus spp. จากการเพาะเลี้ยงเห็ดเรืองแสงด้วยอาหาร potato dextrose broth (PDB) และสกัดสารออกฤทธิ์จากน้าเลี้ยงเห็ดด้วยเอทิลอะซิเตท พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ATCC 29213 และ S. epidermidis ATCC 35984 (สายพันธุ์มาตรฐานที่สร้าง ไบโอฟิล์ม) โดยมีค่า minimum inhibitory concentration (MIC) และ minimum bactericidal concentration (MBC) อยู่ในช่วง 2-16 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จึงนาสารสกัดดังกล่าวไปพัฒนาเป็น เจลต้านสิว จากการเตรียมเจลต้านสิวที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากเห็ดเรืองแสงความเข้มข้น 160 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร (20 MIC) โดยใช้ carbopol Ultrez-21 เป็นสารก่อเจล แล้วนำมาศึกษาความคงตัวภายใต้อุณหภูมิ 30 และ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 เดือน พบว่าเจลมีลักษณะสีเหลืองอ่อน ใส ไม่แยกชั้น มีความคงตัวดี และไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ จากการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี agar well diffusion และ broth microdilution ของเจลต้านสิว พบว่าเจลดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus ATCC 29213, S. epidermidis ATCC 35984, S. epidermidis ATCC 12228 (สายพันธุ์มาตรฐานที่ไม่สร้างไบโอฟิล์ม) และ S. epidermidis NPRC 011-015 (เชื้อที่แยกได้จากสิว) โดยมีค่าเฉลี่ยของ inhibition zone อยู่ในช่วง 9.01-13.09 มิลลิเมตร และมีค่า MIC/MBC อยู่ในช่วง 2-16 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร นอกจากนี้ มีการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างและทำลายไบโอฟิล์มของเจลต้านสิวต่อเชื้อ S. epidermidis พบว่าเจลต้านสิวที่ความเข้มข้น 1/2 MIC และ 1/4 MIC (4 และ 2 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ) มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไบโอ-ฟิล์มของเชื้อ S. epidermidis ATCC 35984 ได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับ negative control และไม่มีฤทธิ์ชักนาให้เชื้อสร้างไบโอฟิล์มเมื่อ ทดสอบกับเชื้อ S. epidermidis ATCC 12228 นอกจากนี้ เจลต้านสิวที่ความเข้มข้น 1/2 MIC (4 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) สามารถทาลายไบโอฟิล์มอายุ 1 และ 5 วันของเชื้อ S. epidermidis ATCC 35984 ได้มากกว่า 40 และ 25.15 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนการศึกษาโครงสร้างไบโอฟิล์มของเชื้อโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ Scanning Electron Microscopy (SEM) พบว่าโครงสร้างไบโอฟิล์มของเชื้อที่บ่มด้วย เจลต้านสิวนั้นมีความหนาแน่นลดลงอย่างชัดเจน และมีการสร้าง extracellular polymeric substance ลดน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับ negative control จากผลการศึกษาดังกล่าวสรุปได้ว่าเจลต้านสิวที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากเห็ดเรืองแสงนั้น มีความเหมาะสมที่จะนาไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สู่ท้องตลาดในอนาคต
metadata.dc.description.other-abstract: Luminescent mushroom extracts (Neonothopanus nambi) exhibited good antimicrobial activities especially against acne-inducing bacteria. Therefore, the aims of this research were to develop anti-acne gel containing the luminescent mushroom extract and to evaluate the effects of the gel on factors cause acne of Staphylococcus spp. The mushroom was cultured in potato dextrose broth (PDB) and the culture filtrate was extracted with ethyl acetate. The extract elucidated pronounced antibacterial activity against S. aureus ATCC 29213 and S. epidermidis ATCC 35984 (biofilm-positive strain) with minimum inhibitory concentration (MIC) and minimum bactericidal concentration (MBC) values ranged from 2-16 μg/ml. For anti-acne gel preparation, the ethyl acetate extract at a concentration 160 μg/ml (20 MIC) and carbopal ultraz-21 (gelling agent) were used in this study. The stability test of the gel was performed at 30°C and 40°C for 6 months. The results showed that the gel was pale yellow, clear, good stability and not contaminated with microorganisms. Biological assessment was tested by agar well diffusion and broth microdilution methods. The results demonstrated that the anti-acne gel showed good activity against S. aureus ATCC 29213, S. epidermidis ATCC 35984, S. epidermidis ATCC 12228 (biofilm-negative strain) and S. epidermidis NPRC 011-015 (clinical strains) with mean of inhibition zone and MIC/MBC values ranged from 9.01-13.09 mm and 2-16 μg/ml, respectively. Moreover, the ability of the gel to prevent biofilm formation and kill mature biofilms was performed. Biofilm formation of S. epidermidis ATCC 35984 reduced more than 50% after treatment with 1/2 MIC and 1/4 MIC (4 and 2 μg/ml, respectively) of the anti-acne gel compared with negative control. In contrast, the gel not induced S. epidermidis ATCC 12228 to produce biofilm. In addition, the ability of 1 and 5 days staphylococcal biofilm- grown cells decreased >40 and 25.15% after incubation with 1/2 MIC of the gel, respectively. Scanning Electron Microscopy clearly confirmed that treatment with the anti-acne gel at 1/2 MIC could reduce biofilm formation and inhibit extracellular polymeric substance production when compared with negative control. Therefore, the results suggested that anti-acne gel containing luminescent mushroom extract has the potential for further product development.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2359
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Ort-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SUKANLAYA LEEJAE.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.