Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2399
Title: | รูปแบบการเรียนและลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่1 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต |
Other Titles: | Learning preference and learning style of the first year Medical Technology Students, Rangsit University |
Authors: | กาญจนา จันทร์ประเสริฐ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยรังสิต -- คณะเทคนิคการแพทย์ -- นักศึกษา – วิจัย;การเรียนรู้ -- การประเมิน – การวิจัย;การเรียนรู้ (จิตวิทยา) – วิจัย;นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ -- กรณีศึกษา |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการเรียนตามแนวคิดของ เฟลมมิ่งและมิลส์ 2)ลีลาการเรียนรู้ตามแนวคิดของ กราชา และริเอชแมนน์ และ 3)ความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับรูปแบบการเรียนตามแนวคิดของเฟลมมิ่งและมิลส์ และเพศกับลีลาการเรียนรู้ตามแนวคิดของ กราชา และริเอชแมนน์ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเทคนิคการแพทย์ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 160 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการศึกษาประกอบด้วยแบบสารวจรูปแบบการเรียนตามแนวคิดของเฟลมมิ่งและมิลส์ และแบบสำรวจลีลาการเรียนรู้ตามแนวคิดของกราชา และริเอชแมนน์ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์คอนบาคเท่ากับ0.90และ0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Pearson Product-Moment Correlation ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง(ร้อยละ 84.4) และส่วนใหญ่มีรูปแบบการเรียนแบบเดี่ยว(ร้อยละ 71.3) จำแนกย่อยเป็นกลุ่มผู้รับรู้ผ่านเสียง(ร้อยละ 42.1) กลุ่มผู้รับรู้ทางร่างกายโดยการเคลื่อนไหวและการรู้สึก(ร้อยละ 37.7) กลุ่มผู้รับรู้ผ่านการอ่านและเขียน (ร้อยละ 16.7) กลุ่มผู้รับรู้ผ่านภาพและสัญลักษณ์(ร้อยละ 3.5)ตามลำดับ ส่วนรูปแบบการเรียนแบบผสมจำแนกย่อยเป็นแบบผสมสองลักษณะ (ร้อยละ 80.4) แบบผสมสามลักษณะ(ร้อยละ 17.4) แบบผสมสี่ลักษณะ(ร้อยละ 2.2) 2) ลีลาการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนตามลำดับดังนี้ แบบพึ่งพา ( 4.2±0.4) แบบมีส่วนร่วม (4.0±0.5) แบบร่วมมือ (4.0±0.6) แบบอิสระ (3.6±0.6) แบบหลีกเลี่ยง (3.1±0.7) และ แบบแข่งขัน(3.1±0.8) และ 3.1) เพศกับรูปแบบการเรียนกลุ่มผู้รับรู้ผ่านเสียง(r=.039)มีความสัมพันธ์ระหว่างเชิงบวกอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 และ 3.2) เพศกับลีลาการเรียนรู้แบบพึ่งพา ( r =-.027)และแบบมีส่วนร่วม (r =-.024)มีความสัมพันธ์ระหว่างเชิงลบอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purpose of this research was to study 1) Fleming & Mills’s learning preference 2) Grasha & Riechmann’s learning style and 3) the relation between the students’ gender and Fleming & Mills’ s learning preference, and their gender and Grasha & Riechmann’s learning style. The subject group consisted of 160 purposively selected first-year Medical Technology students. The VARK questionnaire and Grasha-Ricehmann Student Learning Style Scale (GRSLSS) were used as research instruments to assess the students’ learning preference and learning style. They had acceptable reliability coefficients of 0.90 and 0.91, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and Pearson’s Product Moment Statistics. The findings showed that 1) the majority (84.4%) of the sample group were female and 71.3%preferred to use a single learning preference (Uni-modal). Among them, 42.1% preferred the Auditory Preceptors, 37.7%, preferred the Kinesthetic Preceptors, 16.7%, preferred the Read/Write Preceptors and 3.5% preferred the Visual Preceptors. For the remaining participants who preferred more than one learning preference (Multi-modal), 80.4% chose Bi-modal, 17.4% chose Tri-modal and 2.2% chose Quad-modal. The findings also revealed 2) the mean scores of the following learning styles: Dependent (4.2±0.4), Participant (4.0±0.5), Collaborative (4.0±0.6), Independent (3.6±0.6), Avoidance (3.1±0.7) and Competitive (3.1±0.8) respectively. It was found that 3.1) there was a significant relation between genders and Auditory Preceptors (r=.039, p<.05), and 3.2) genders were significantly related to Dependent style (r =-.027, p<.05) and Participant style (r =-.024, p<.05) |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2399 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Sci-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KANCHANA CHANPRASERT.pdf | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.