Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2405
Title: เปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดต่อชนิดของการฝึกออกกำลังกาย : เดิน และวิ่งบนสู่วิ่งสายพาน ขี่จักรยานอยู่กับที่ และเดินในน้ำลึกในหญิงไทย
Other Titles: Comparison the influence of different sport activities training : walking and running on treadmill, bicycle ergometry and walking in deep water on the maximal oxygen uptake in Thai females
Authors: อาภาลักษณ์ พรรคสายชล
Keywords: การออกกำลังกาย -- วิจัย;กีฬาเวชศาสตร์ -- วิจัย;ออกซิเจน, การบริโภค -- วิจัย
Issue Date: 2545
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลของการออกกําลังกาย 16 สัปดาห์ ซึ่งมี ความแตกต่างกันของชนิดของการฝึก ที่มีความหนัก ความถี่ และระยะเวลาของการฝึกออกกําลัง กายเหมือนกัน ต่อประสิทธิภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO,max) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงที่ไม่เคย ออกกําลังกายมาก่อน จํานวน 80 คน มีอายุระหว่าง 18-22 ปี แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม โดยการสุ่ม แต่ละ กลุ่มประกอบด้วย การเดินบนลู่วิ่งสายพานไฟฟ้า การวิ่งบนลู่วิ่งสายพานไฟฟ้า การขี่จักรยานอยู่กับ ที่ และการเดินในน้ําลึก โดยแต่ละกลุ่มจะออกกําลังกายเฉพาะกลุ่ม โดยออกกําลังกาย 3 วันต่อ สัปดาห์ วันละ 20 นาที ที่ความหนัก 65-75% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด เป็นเวลา 16 สัปดาห์ ทําการเปรียบเทียบค่า VO,max ก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ค่า VO,max เพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) ในทุกชนิดของการฝึก แต่เมื่อเปรียบเทียบค่า VO, max หลังการฝึกของ แต่ละกลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 7.47, 8.81, 12.75 และ 8.5 ในกลุ่มการเดินบนลู่วิ่งสายพานไฟฟ้า การวิ่งบนลู่วิ่งสายพานไฟฟ้า การขี่จักร ยานอยู่กับที่ และการเดินในน้ําลึก ตามลําดับ สรุปได้ว่า แม้ว่าชนิดของการฝึกออกกําลังกายต่างกัน ก็สามารถพัฒนาค่า VO,max ได้ ภายใต้การฝึกเช่นการศึกษานี้
metadata.dc.description.other-abstract: The purpose of this study was to compare the effects of a 16-week exercise in different training modes at absolute intensity, frequency (3 times/week) and duration (20 minutes) on maximal oxygen consumption (VO,max). Eighty sedentary women, aged 18-22 years were randomly assigned into 4 groups, each group performed the following activities: treadmill walking (TW), treadmill running (TR), bicycling with a stationary cycle ergometry (CE) and walking in water of a depth of shoulder height (WW). The workout at 65-75% (maximum heart rate) for 16 weeks. Stepping VO,max was measured before and after the training period. TW, TR, CE and WW showed a significant increase in VO2max over a 16-week study period (p<0.05), but after training VO,max showed no significant difference among different groups. The 7.47, 8.81, 12.75 and 8.5% increases were observed in TW, TR, CE and WW, respectively. It could be suggested that training in different modes with the same VO2max would improve the cardiopulmonary condition of the training person.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2405
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Phy-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ARPALAK PAKSAICHOL.pdf25.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.