Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2406
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย เปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้วยลูกบอลและอุปกรณ์แขวน ต่อความมั่นคงของหลัง และการควบคุมการทรงท่าในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังแบบไม่จำเพาะ
Other Titles: Comparison between swiss ball exercise and sling exercise on lumbar stability and postural stability in patients with non-specific chronic low back pain
Authors: อภิญญ์การย์ เจริญลาภ
พิชญ์สินี เฟื่องจิตต์
จิรภัทร์ สุขียุติ
ปาริชาติ โสภาพ
ชฎารัตน์ จิรแสงทอง
Keywords: การรักษาด้วยการออกกำลังกาย;การออกกำลังกาย -- ในผู้ป่วย;ปวดหลัง -- ผู้ป่วย -- การออกกำลังกาย
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของการออกกําลังกายโดยใช้ลูกบอล และ อุปกรณ์แขวนต่อความ มั่นคงของหลังและการควบคุมการทรงท่า ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังแบบไม่จําเพาะเจาะจง วิธีการวิจัย: ผู้เข้าร่วมวิจัย จํานวน 32 คน ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ออกกําลังกายด้วยลูก บอลจํานวน 16 คน และ กลุ่มที่ออกกําลังกายด้วยอุปกรณ์แขวนจํานวน 16 คน ด้วยวิธีการสุ่ม ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสองกลุ่มจะได้รับโปรแกรมการออกกําลังกาย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และวัดระดับความเจ็บปวดโดยใช้ visual analog Scale (VAS), ความบกพร่องในการทํากิจกรรม โดยใช้แบบประเมิน modified OSwestry disability questionnaire (modified ODQ), ระดับ ความมั่นคงของหลัง ทดสอบโดย modified isometric stability test (modified IST) และ ความสามารถในการทรงท่า โดยวัดค่า Sway area และ Sway velocity จากเครื่อง accelerometer ผลการวิจัย: ภายหลังการรักษาพบว่าทั้ง 2 กลุ่ม มีอาการปวดหลังส่วนล่างและความบกพร่องในการ ทํากิจกรรมลดลง ความมั่นคงของหลัง และการควบคุมการทรงท่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าทั้งสองกลุ่มมีระดับความเจ็บปวด ความบกพร่องใน การทํากิจกรรม และ ระดับความมั่นคงของหลัง แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) โดย กลุ่มที่ออกกําลังกายด้วยลูกบอลมีแนวโน้มว่าอาการปวดหลังส่วนล่างและ ความบกพร่องในการทํา กิจกรรมลดลง ความมั่นคงของหลังเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ออกกําลังกายด้วยอุปกรณ์แขวนอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่การควบคุมการทรงท่าพบว่าทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย: การออกกําลังกายโดยใช้อุปกรณ์แขวนและลูกบอลสามารถลดอาการปวดและความ บกพร่องในการทํากิจกรรม ช่วยเพิ่มระดับความมั่นคงของหลังและการควบคุมการทรงท่าให้ดียิ่งขึ้น โดยการออกกําลังกายด้วยลูกบอลมีแนวโน้มที่จะช่วยลดอาการปวดและความบกพร่องในการทํา กิจกรรม ช่วยเพิ่มระดับความมั่นคงของหลังได้มากกว่าการออกกําลังกายโดยใช้อุปกรณ์แขวน
metadata.dc.description.other-abstract: Objectives: The aim of this study was to comparison of lumbar stability and postural stability between swiss ball exercise and sling exercise in patients with non-specific chronic low back pain (NCLBP). Methods: Thirty-two participants with NCLBP were divided into swiss ball exercise group (n=16) and sling exercise group (n=16). Both group received exercise twice a week for four weeks. All participants performed exercise 15 repetitions per set for 3 sets. The outcome measures were composed of visual analog scale (VAS), modified oswestry disability questionnaire (MODQ) and modified isometric stability test (MIST). In addition, the sway area and sway velocity were measured by accelerometer. The repeated two-way ANOVA was used for statistical analysis. Results: The results showed significant decreasing of pain intensity, functional disability, sway area and sway velocity in both groups after exercise (p<0.05). The reduction in VAS and MODQ for the swiss ball exercise group was significantly higher than the sling exercise group. The level of stability was demonstrated significant improvement from baseline in both group (p<0.05). The MIST in the swiss ball exercise group was showed more improvement than the sling exercise group with significantly (p<0.05). Moreover, the postural sway demonstrated no significant difference between both groups. Conclusions: Both groups can reduced pain intensity and functional disability as well as improved lumbar stability and postural stability. The findings suggest that the ball exercise is more effective to reduced pain intensity, functional disability and postural sway. Furthermore, the level of stability is more improvement in the ball group.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2406
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Phy-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
APINKARN JAROENLARP.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.