Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2444
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเชิงการทดลองน้ำยาเคลือบขี้เถ้าเปลือกทุเรียนที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาประเภทเนื้อดินสโตนแวร์อุณหภูมิ 1200 C และ 1230 C
Other Titles: Effects of Durian ash glazes on stoneware bodies product with temperature 1200-1230 C
Authors: วรวรรณ โอริส
Keywords: เครื่องเคลือบดินเผา -- วิจัย;เครื่องเคลือบดินเผา -- น้ำยาเคลือบ -- วิจัย
Issue Date: 2551
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาน้ำเคลือบเครื่องเคลือบดินเผาและเป็นแนวทางการทดลองให้กับนักศึกษา เป็นการวิจัยเชิงทดลองเกี่ยวกับน้ำยาคลือบสําหรับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาประเภทเนื้อดินสโตนแวร์ที่มีส่วนผสมของขี้เถ้าเปลือกทุเรียนเป็นส่วนผสมหลักใน การทดลอง โดยแบ่งอุณหภูมิในการเผาทดลองเป็น 2 ระดับ คือ ระดับอุณหภูมิการเผาที่ 1200 องศา เซลเซียส และ ระดับอุณหภูมิการเผาที่ 1230 องศาเซลเซียส บรรยากาศในการเผาใช้แบบออกซิเดชั่น และรีดักชั่น การวิจัยได้แบ่งขั้นตอนในการทดลองเพื่อหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1.การทดลองเพื่อหาสูตรน้ํายาเคลือบจากสูตรพื้นฐานด้วยวิธีแบบเอมไพริคอต ขั้นตอนที่ 2. การทดลองน้ําเคลือบจากสูตรส่วนผสมร้อยละที่มีส่วนผสมขี้เถ้าเปลือกทุเรียน ขั้นตอนที่ 3. การทดลองน้ําเคลือบขี้เถ้าเปลือกทุเรียนผสมออกไซด์ ขั้นตอนที่ 4. การทดลองน้ําเคลือบขี้เถ้าเปลือกทุเรียนผสมออกไซด์ด้วยวิธีการผสมแบบเชิงเส้น ผลการวิจัยเชิงการทดลองน้ําเคลือบที่มีส่วนผสมของขี้เถ้าเปลือกทุเรียนสูตรพื้นฐานที่ เหมาะสมในการทดลองคือจุดที่ 14 งมีจํานวนโมเลกุลของอลูมิน่าที่ 0.30 จํานวนโมเลกุลซิลิก้าที่ 2.50 และจุดที่ 31 มีจํานวนโมเลกุลของอลูมิน่าที่ 0.45 จํานวนโมเลกุลซิลิก้าที่ 2.0 เมื่อนําทั้งสองจุด มาคํานวณสูตรแบบอัตราส่วนร้อยละ จุดที่ 14 ได้สูตรน้ําเคลือบที่มีลักษณะผิวเคลือบมันแวววาว และจุดที่ 31 ได้สูตรน้ําเคลือบที่มีลักษณะผิวเคลือบด้านเรียบ อัตราส่วนขี้เก้าเปลือกทุเรียนที่ เหมาะสมตั้งแต่ 30 - 50 % บรรยากาศการเผาเป็นตัวแปรให้สีที่ต่างกันบรรยากาศออกซิเดชั่นจะให้เคลือบสีขาวครีมผิวเป็นสะเก็ดแวววาวเมื่อถูกแสงแดดและบรรยากาศรีดักชั่นจะให้สีเคลือบเขียว ศิลาดล เนื่องจากขี้เถ้าเปลือกทุเรียนมีส่วนผสมของออกไซด์หลายชนิดโดยเฉพาะเฟอร์ริกออกไซด์ เป็นตัวแปรทําให้สีของเคลือบเปลี่ยนและเมื่อน้ําเคลือบขี้เถ้าเปลือกทุเรียนผสมกับออกไซด์จะทําให้สีเคลือบอ่อนลง มีฝ้าลอยบนผิวเคลือบ น้ำเคลือบประเภทนี้เหมาะกับผลิตภัณฑ์อาร์ตแวร์เนื่องจากมี สีที่ไม่คงที
metadata.dc.description.other-abstract: The objective of research is develop glaze formula for decorative ceramic and develop instructor of new experimental of our students. This research have experiment about glaze formula for stoneware products by using Durian shield ash. Temperature for experimental is 1200° C and 1230° C firing at oxidation and reduction atmosphere. Step of experimental Step 1 Experiment for select a suitable glaze forinula by using empirical formula. Step 2 Using selected formula mixing with Durian shield ash. Step 3 Experiment for test any colorant oxide with selected formula. Step 4 Experiment for test any colorant oxide with selected formula by lever rules method. The result of experiment for glaze formula with Durian shield ash for good appearance is formula 14 (ratio of alumina and silica is 0.3: 2.5) and formula 31 (ratio of alumina and silica is 0.45: 2.0), Formula 14 was glossy and smooth while formula 31 was smooth matt. The ratio of Durian shield ash in suitable properties is 30-50% by weight. The firing atmosphere was effect to color of glaze formula, oxidation atmosphere given white cream glossy and reduction atmosphere given green celadon because in Durian shield ash have Fe2O, and another oxide that cause of colorant in glaze formula
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2444
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Art-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WORAWAN ORIT.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.