Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2446
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการพัฒนาครูด้านสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อใช้ในการเรียนรู้ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี |
Other Titles: | Teachers' Professional Development in information and Communication Technology Competency Used for Student Learning in Pathum Thani Basic Education Schools |
Authors: | สุพินดา เลิศฤทธิ์ |
Keywords: | ครู -- การพัฒนาศักยภาพ -- วิจัย;ครู -- การฝึกอบรมในงาน -- วิจัย;ครู -- ผลกระทบจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี -- วิจัย;เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -- วิจัย |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครู เพื่อใช้ในการเรียนรู้ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ใช้งานได้ ความเป็นไปได้ และความถูกต้องของสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครู และ 3) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูสู่การปฏิบัติจริง โดยการจัดอบรมครู งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi & Ethnographic Delphi Futures Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มี 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปทุมธานี 181 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 20 คน และกลุ่มครูผู้เข้าร่วมอบรม 30 คน ผลวิเคราะห์ข้อมูลสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูใน 9 ด้านที่ได้จากแบบสำรวจจากกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนได้เสนอไปยังผู้เชี่ยวชาญ ในขั้นตอนแรก การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบข้อมูลหาความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ใช้งานได้ ความเป็นไปได้ และความถูกต้อง ตามมาตรฐานการประเมินเพื่อใช้ในการยืนยันข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างแรกอยู่ในขั้นตอนที่สอง โดยวิเคราะห์ทางสถิติหาความคิดเห็นที่สอดคล้อง ความเที่ยงตรง และความน่าเชื่อถือ โดยกำหนดค่ามัธยฐาน >3.50 และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ <1.50 ในขั้นตอนที่สามผู้เชี่ยวชาญพิจารณาและปรับปรุงผลวิเคราะห์จากรอบแรก จากนั้นมีมติเป็ นเอกฉันท์และยืนยันผลลัพธ์ที่ได้ในขั้นตอนสุดท้าย ผลวิจัยพบว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นที่สอดคล้องกับผู้บริหารโรงเรียนในสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทุกด้าน ผลวิจัยที่ได้นำไปจัดทำโครงการอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้นสำหรับกลุ่มครู ผลวิเคราะห์ใช้ Paired-samples t-test กับแบบทดสอบความรู้เบื้องต้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก่อนและหลังการอบรมของกลุ่มครูมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับโครงการอบรมเป็นภาพรวม แสดงความพึงพอใจในโครงการอบรมอยู่ในระดับสูงที่สุด |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purposes of this study were to 1) identify the present teachers’ ICT competencies in Pathum Thani basic education schools required by school administrators, 2) determine the utility, feasibility, propriety, and accuracy (Standards for Evaluation) of ICT competencies, and 3) develop those ICT competencies for teachers into a training program. A mixed methodology using quantitative, qualitative, and four-phased Ethnographic Delphi Futures Research technique was used. Three sample groups included 181 school administrators of basic educational schools, an experts group of twenty, and a participants group of thirty teachers. Research instruments comprised the survey, the semi-structured interviews, the pre and post-tests, and a self-performance evaluation. A report from the survey, which was analyzed and interpreted by content analysis, was presented to the experts in the first phase. Interviewing process between the experts’ assessment based on Standards for Evaluation on nine components of each of ICT competencies was in the second phase. In the third phase, the experts determined and adjusted the outcomes. By setting Median> 3.50 and Interquartile range < 1.50 for statistical analysis as consensus criteria, ICT competencies were defined. In the third phase, the experts determined and adjusted the outcome for the second round. Unanimously, the experts confirmed the last results which gained consensus in the final phase. The results reveal that ICT areas of school administrators required were related to what the experts group agreed. Based on the findings, an ICT training program was created for thirty teachers. A paired-samples t-test was analyzed and the results show a significant difference between before and after training. The over-all training program evaluation results the highest level of trainees’ satisfaction. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2446 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | EDU-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SUPINDA LERTLIT.pdf | 7.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.