Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2448
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย รฤก สำหรับวงเชลโลออร์เคสตรา |
Other Titles: | From time to time for Cello Orchestra Creator |
Authors: | วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น |
Keywords: | ออร์เคสตรา;เพลงคลาสสิก;เชลโล;ดนตรี;ดุริยางคศาสตร์ (สากล) |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | บทประพันธ์ รฤกสำหรับวงเชลโลออร์เคสตรา ถูกประพันธ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความรฤก (รำลึก) และแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากรุณาธิคุณ แด่องค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พระ ปิยมหาราช) ในงานแสดงคอนเสิร์ตวงดุริยางค์เชลโลไทย ครั้งที่สอง ณ หอแสดงดนตรี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เมื่อวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556 บทประพันธ์นี้อยู่บนพื้นฐานดนตรีระบบนีโอโทนาลิตี มีโครงสร้างเลียนแบบสังคีตลักษณ์ โซนาตา ประกอบด้วยแนวคิดหลัก A, B, และ C เป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากนั้นมีการจัดแนว การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตรา โดยแบ่งวงเชลโลออกเป็นสี่แนวเลียนแบบคณะ นักร้องประสานเสียง สำหรับวัตถุดิบการประพันธ์ที่นำมาใช้สำหรับแนวคิดหลักแต่ละช่วง พัฒนา มาจากหน่วยย่อยทำนองของบทเพลง มหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พร้อมกันนั้นให้ความสำคัญกับเสียงประสานขั้นคู่ห้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คอร์ดคู่ห้าเรียงซ้อน เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 5 วัตถุดิบการประพันธ์ทั้งหมดดังกล่าวกระจายอยู่ตลอดบทประพันธ์ ซึ่งสะท้อนถึงความหมาย บทประพันธ์ “บางครั้งบางคราว” อีกทั้งบางช่วงของบทประพันธ์กำหนดให้แนวเชลโลสี่เล่นด้วยค่า ความยาวโน้ตสามจังหวะบนอัตราจังหวะธรรมดา 4/4 เพื่อสะท้อนถึงความหมายแฝงของบท ประพันธ์ที่เป็นการซ้อนกันของเวลา |
metadata.dc.description.other-abstract: | The composition From Time to Time for Cello Orchestra was composed as a tribute and expression of loyalty to H.M. King Chulalongkorn (Rama V). The world premiere was performed at the second Thai Cellissimo Orchestra Concert in the Music Hall, Building of Art and Culture, Chulalongkorn University on October 19th, 2013. The composition is based on neo-tonality. Its structural form is similar to that of a sonata which is comprised of three main ideas (A, B, and C). The orchestra is divided into four-part as a cello choir. The raw materials of each main idea were developed from Chulalongkorn–some melodic fragments–that was composed by H.M. King Bhumibol Adulyadej (Rama IX). Moreover, the piece used the fifth relationship, especially quintal chords to symbolize Rama V. All of the materials are pervasive throughout the piece which reflects the meaning of the composition. Furthermore, in some area, the fourth cello played three beats against quadruple time (4/4) to indicate the layer of time. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2448 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Ms-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WIBOON TRAKULHUN.pdf | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.