Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2463
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการศึกษาลักษณะทางสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นของชุมชนบริเวณเตาสามโคก จ.ปทุมธานี |
Other Titles: | A study on vernacular architecture of the communities around Samkok pottery oven, Patumthani province |
Authors: | สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว |
Keywords: | สถาปัตยกรรมพื้นเมือง -- ไทย -- ชุมชนบริเวณเตาสามโคก (ปทุมธานี) -- วิจัย;สถาปัตยกรรมกับประวัติศาสตร์ -- ไทย -- ชุมชนบริเวณเตาสามโคก (ปทุมธานี) -- วิจัย;ผังเมือง -- การออกแบบ -- วิจัย;การฟื้นฟูเมือง -- ไทย -- ชุมชนบริเวณเตาสามโคก (ปทุมธานี) -- วิจัย |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | ด้วยความสําคัญของเตาสามโคกในฐานะแหล่งโบราณสถานสําคัญของชุมชน และจังหวัด ปทุมธานี ทําให้เกิดประเด็นศึกษาวิจัยถึงลักษณะสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นของชุมชนโดยรอบ บริเวณ จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเตาโอ่งอ่างกับชุมชนพบว่าเตานี้ถูกทิ้งร้างมานานมาก แล้ว โดยในอดีตชาวมอญอพยพจากประเทศพม่า ซึ่งเคยมีอาชีพปั้นหม้อไหคงนําเข้ามาประกอบ อาชีพในพื้นที่นี้ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางเป็นอย่างมาก หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นอย่างน้อย แต่ปัจจุบันชาวมอญโดยรอบบริเวณก็ไม่ได้มีการประกอบอาชีพนี้แต่อย่างใด ยกเว้นชุมชนมอญที่ อยู่ห่างออกไปที่เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี การศึกษาถึงลักษณะทางสถาปัตยกรรมได้เลือกเปรียบเทียบเรือนพื้นถิ่นที่มีลักษณะ แตกต่างกัน 3 ประเภทคือ เรือนทรงไทย เรือนทรงประยุกต์ และเรือนเครื่องผูก จากชุมชนมอญที่ อยู่ใกล้เคียงกันกับเตาโอ่งอ่าง จํานวน 3 กลุ่ม คือ ชุมชนมอญวัดจันทน์กะพ้อ ชุมชนมอญวัดสิงห์ และชุมชนมอญวัดเจดีย์ทอง อําเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พบว่าโดยส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็น เรือนยกพื้นสูง โดยเรือนที่มีอายุมากที่สุดมักเลือกทําเลที่ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ํา ส่วนเรือนที่อายุน้อยกว่า มักเป็นเครือญาติที่แยกเรือนออกมา โดยเลือกทําเลที่ตั้งถัดออกไปใกล้กับคลอง หรือทางรถยนต์ซึ่ง เป็นเส้นทางสัญจรหลักในปัจจุบันองค์ประกอบแผนผังของเรือนทั้ง 3 ประเภท ล้วนมีแบบแผนที่ใกล้เคียงกัน คือทําเรือนยก พื้นสูงใต้ถุนโล่ง วางเรือนหลักตั้งฉากกับแม่น้ําหรือเส้นทางสัญจร โดยหันด้านสกัดซึ่งเป็นส่วน สะดุดตาที่สุดออก ในแต่ละเรือนจะประกอบไปด้วยพื้นที่หลัก 3 ส่วน คือ ส่วนนอน ส่วนระเบียงอเนกประสงค์ และส่วนทําครัวในเรือนทรงไทยจะแยกส่วนนอนเป็นเรือนหลักหลังคาจั่วสูงที่มีระเบียงเกาะด้านข้างมีหลังคาลาดคลุม และแยกเรือนครัวไว้ด้านหลัง โดยวางเรือนครัวขวางกับเรือนหลัก แต่หากเป็น เรือนทรงประยุกต์ และเรือนเครื่องผูกมักทําส่วนนอนกับระเบียงอเนกประสงค์รวมทั้งส่วนทําครัวไว้ ภายใต้หลังคาผืนเดียวกัน เมื่อศึกษาองค์ประกอบอาคารพบว่าระบบผนัง ในกลุ่มเรือนทรงไทยนิยมทําผนังฝาปะกน แบบลูกฟักกระดานดุนสําหรับส่วนเรือนหลัก แต่เรือนทรงประยุกต์มักตีฝาไม้ซ้อนเกล็ดตาม แนวนอน ส่วนระเบียงมักทําระแนงไม้ตีโปร่ง ซึ่งให้ทั้งความเปิดโล่ง และปลอดภัยไปใน ขณะเดียวกัน ส่วนผนังเรือนครัวหากไม่ทําผนังระแนงโปร่ง หรือมีบานหน้าต่างมาก ๆ ก็มักทําผนัง บานกระทุ้งสังกะสีเพื่อช่วยให้การระบายควันจากการปรุงอาหารเป็นไปได้โดยเร็ว องค์ประกอบหลังคาของกลุ่มเรือนทรงไทย มักเป็นไปตามแบบแผนของเรือนไทยภาคกลาง ได้แก่จั่ว เหงา และยอดป้านลม โดยทําองศาของหลังคาไม่สูงชันนัก หน้าจั่วมักนิยมแบบจั่วใบปรือ เป็นหลัก แต่หากเป็นเรือนทรงประยุกต์มักทําหลังคาแบบจั่วลาด วัสดุมุงหลังคาโดยส่วนใหญ่เป็น กระเบื้องลอนเล็ก หรือสังกะสี โดยปรับเปลี่ยนจากใบจาก หรือกระเบื้องดินเผา ที่หาซ่อมแซมได้ ยากในปัจจุบัน ส่วนเรือนเครื่องผูกหลังเดียวที่พบยังใช้จากมุงหลังคา โดยทําเป็นจั่วทรงไทยมีป้านลมแบบหางปลา สรุปผลการวิจัยพบว่าลักษณะสถาปัตยกรรมของเรือนพื้นถิ่นบริเวณเตาโอ่งอ่างสามโคกยังคงมีแบบแผนขององค์ประกอบแผนผังอาคารที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางตัวเรือน หลักขวางลําน้ำ สมดังเช่นที่มีการเรียกขานกันแต่โบราณว่ามอญขวาง ส่วนการกําหนดรูปทรงและ องค์ประกอบของตัวอาคารเป็นไปโดยประโยชน์ใช้สอย และวัสดุการก่อสร้างตามยุคสมัย โดยสิ่งที่ เห็นว่าเป็นลักษณะเฉพาะอันควรสืบทอดไว้ ก็คือการคํานึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมถึง ด้วยการยกใต้ถุนสูง และใช้พื้นที่บนเรือนเป็นหลัก |
metadata.dc.description.other-abstract: | The study on Vernacular Architecture of the Communities around Samkok Pottery Oven based on the fact that this place is a highly significant Monument of the communities in Patumthani Province. Historically study on relation to this long deserted place- Samkok Pottery Oven and the communities around it, revealed that the migration of ethnic Mon people from Burma happened around Mid-Ayuddhaya Period or the beginning of Rattanakosin Period. In the old days these ethnic Mon lead their lives as pottery craftmen, but nowadays they do not earn their living on that craft anymore except for the faraway Mon settlement in Koa Kred, Nontaburi Province. Architectural features are selected to study comparatively on three different groups of Mon community houses: a traditional Thai-styled house, an adapted Thai- styled House and a bamboo-thatched one. Three communities around Samkok Pottery Oven chosen to be studied are Wat Singha community, Wat Jan-kapor community and Wat Chedi Tong community, Amphur Samkok, Patumtani Province. It is founded that the majority of Houses are favourably built as stilt houses. The more older built houses are Situated closer to the river than the younger expanded ones which are usually near canals or main routes in the present time. Architectural constituent layout of three different types of houses are quite similar. Those are of elevated or stilt houses with open space beneath. The main Layout of the house is erected at right angle. The facing aspect to the river or a route is the narrow part of the house. Every single house is composed of three main components: living area, all-purposed veranda, and cooking area. In traditional Thai-styled house, living area is designated as a main structure Typically with high gable-roof and an attached veranda. Cooking area is backwards away, angled to the main structure while an adapted Thai-styled house and a Bamboo-thatched house, living area, all-purposed veranda and cooking area are all under one roof. The study on constituent building on aspect of wall is founded that traditional Thai-styled houses are in favour with decorated panels for the main structure. But, Adapted Thai-styled houses are inclined to favour tiers of paneling alignment on Wall, thus renders the feeling of space and security as well. As regards cooking area wall, it is either done in batten wall or having several corrugated iron window panes with wooden support to fling the windows open so as to help rapid dispersing of cooking vapour. Thai-styled houses normally have constituent roofs in accordance with Central Thai-Styles houses. On aspects of gables, cornices and gable-boards; the slope of roofs will not be so high in degrees; gables with tiers of planks are chiefly favourable. Nevertheless, roofs of applied Thai-styled houses are often made in less degrees of slope. Roof tiling is mostly used small curved cement tiles or corrugated iron sheets. Thus has been adapted from using thatches, terra-cotta tiles or plain cement Tiles for roofing as those afore mentioned materials are scarce now when repairing Is needed. The single thatched roof house we found still uses thatches for roofing, having Thai-styled gable decorated with fish-tailed gable-board. As a result of this analysis, we can conclude that features of Vernacular Architecture of the Communities around Samkok Pottery Oven are quite similar in pattern of Constituent layout of the building, especially in laying out the main structure in a manner of cutting across the river. It is so proper for Mon people to be named "Mon Kwang" for a long time. Actually, the name is derived from the odd manner of building their houses across to the river. On regards to its appearance and constituent building, it was designed to suit well to actual application and trend in using construction materials at the time. It is considered that the specific element that should be preserved is the harmonious living with environment by elevating the house and mainly using the floor space. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2463 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | ARC-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SUDJIT SANANWAI.pdf | 11.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.