Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2465
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา บ้านรักไทย จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
Other Titles: | Sustainable community development: a case study of Baanrakthai, Mae Hong Son Province |
Authors: | สุพัตรา ราษฎร์ศิริ |
Keywords: | การพัฒนาชุมชน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน -- แม่ฮ่องสอน;การพัฒนาแบบยั่งยืน -- ไทย -- แม่ฮ่องสอน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน;การท่องเที่ยวโดยชุมชน -- แม่ฮ่องสอน |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | ชุมชนบ้านรักไทยเป็นชุมชุนชนบทขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดกับชายแดนสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า จึงมีประวัติศาสตร์ในด้านของสงคราม ชุมชนอพยพ และมีการผสมผสานของหลายชาติพันธุ์ ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีนยูนนาน จึงมีวิถีชีวิต สังคม ภูมิปัญญา วัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนสถาปัตยกรรมที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นในแบบจีนยูนนานผสมผสานกับความเป็นไทย ประกอบกับความมีสภาพภูมิประเทศที่สวยงามและภูมิอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปี ทำให้ได้รับการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน หน่วยงานภาครัฐได้ใช้การท่องเที่ยวเพื่อให้ชุมชนอยู่ได้แบบพึ่งพาตนเอง แต่การพัฒนาที่ผ่านมายังไม่ได้รับการวางแผนและการจัดการอย่างเป็นระบบ ขาดความต่อเนื่องและความเชื่อมโยงกับกายภาพของชุมชน จึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนบ้านรักไทย วิเคราะห์ และวางแผนพัฒนาชุมชนบ้านรักไทยสู่ความเป็นชุมชนยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาศักยภาพและต้นทุนทางทรัพยากรของชุมชน และนำมาวางผังพัฒนาทางกายภาพ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เหมาะสมกับปัจจุบัน วิธีดำเนินการวิจัยคือ การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจพื้นที่ การสังเกต สัมภาษณ์ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า ชุมชนมีอัตลักษณ์ทางภูมิประเทศ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น สามารถนำมาส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายใต้กรอบแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม จึงนำมาสู่การนำเสนอแผนพัฒนาชุมชนบ้านรักไทย และการวางผังพัฒนากายภาพชุมชุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างความสมดุลทางด้านวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมและการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยกำหนดผังการใช้ที่ดินและพื้นที่สำคัญที่ควรพัฒนา ได้แก่ การสร้างศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชุมชน และศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ผลการวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้คนในชุมชนทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมและมีการประเมินผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง |
metadata.dc.description.other-abstract: | Baanrakthai is a small rural community located in Mokjampae Sub-district, Muang District, Mae Hong Son Province. Since its area is next to the border of Republic of the Union of Myanmar, the community has a lot of history about wars, immigrant communities, and ethnic diversity. At present, the majority of the habitants is Yunnan Chinese. Therefore, the outstanding identity of the community in terms of lifestyle, society, local wisdom, culture, traditions, and architecture comes from the mixture of Yunnan Chinese and Thai styles. The community has been promoted as one of the tourist attractions in Mae Hong Son Province due to its unique identity, beautiful landscape, and cool weather throughout the year. The government has used tourism to develop self-reliance of the community. However, the development has not been successful due to the lack of good planning, systematical management, consistency, and link with physical conditions of the community. Hence, the objective of this research are 1) to study the contexts of Baanrakthai, analyze, and generate the development plan to promote Baanrakthai as a sustainable community, and 2) to study potentials and costs of natural resources of the community and create the physical community development plan to promote an up-to-date community-based tourism. The research methods comprise the study of information from documents, area survey, observation, interview, analysis, and synthesis. The study reveals that the community has unique and distinct identities of geography, lifestyle, culture, and local wisdom which can be used to support the conceptual framework of ecotourism and cultural-based tourism. This leads to the proposal of Baanrakthai community development plan and physical community development plan to promote tourism and create the balance of lifestyle, economy, society, and environment along with cultural preservation and local wisdom inheritance. The plan prescribes the plan of land use and identifies the significant areas for the development including the construction of tourist information center, community historical museum, and local wisdom learning center. The results can be used as a guideline for implementation to promote regular and continuous participation and evaluation of all groups of the community members. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2465 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | ARC-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SUPATTRA RADSIRI.pdf | 5.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.