Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2469
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการวางผังพัฒนาชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนหนองโสน จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Community development planning case study : Nongsano, Nakornratchasima
Authors: ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์
Keywords: การพัฒนาชุมชน -- วิจัย;การวางผังเมือง -- ไทย --ชุมชนหนองโสน (นครราชสีมา) -- วิจัย;ผังเมือง -- การออกแบบ -- วิจัย;การฟื้นฟูเมือง -- ไทย --ชุมชนหนองโสน (นครราชสีมา) -- วิจัย;เมือง -- การตกแต่งให้สวยงาม
Issue Date: 2553
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ลาวเบิ้งหรือที่เรียกกันว่าไทยโคราช แห่งบ้านหนองโสน เป็นชุมชนเล็กๆที่มีความผูกพันธ์กัน อย่างแน่นแฟ้น แบบเครือญาติ รวมตัวกันตั้งถิ่นฐานทางด้านเหนือของอําเภอโชคชัย ชาวบ้านได้สร้าง ความเป็นชุมชนที่แข็งแกร่งขึ้นมาโดยการผลิตผลงานหินทรายหล่อที่มีชื่อเสียงในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีความหมายมากกว่าของประดับตกแต่ง จนในวันนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นงานที่ทรงคุณค่าถือว่า เป็นทําเนียมประเพณี และเป็นส่วนหนึ่งกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ผ่านมา กระแสการพัฒนาชุมชนมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาไปสู่การเป็น ประเทศอุตสาหกรรม ทําให้อัตลักษณ์ชุมชนที่หลากหลายได้ถูกพัฒนาให้มีมาตรฐานเดียวกันและถูก ครอบงําโดยทฤษฎีการพัฒนาแบบตะวันตก ส่งผลให้ค่านิยมของคนในสังคมชนบทเปลี่ยนแปลง คุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นถูกแทนที่ด้วยค่านิยมใหม่ ที่มุ่งเน้นวัตถุนิยม ชุมชนมีอัตราการสูญเสียป่า มีการทําลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เกิดภาวะมลพิษทางน้ำและอากาศ รวมถึงชุมชนไม่สามารถรับมือกับ แรงกดดันของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงนําไปสู่การพัฒนาชนบทที่ล้มเหลวเป้าหมายของการวิจัย คือเปิดศักยภาพที่จะยอมรับความแตกต่างของอัตลักษณ์ ความดีงาม ความมีศักดิ์ศรีและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานสําคัญของชุมชนชนบท โดยคํานึงถึงหลักสิทธิชุมชน เป็นการกระจายอํานาจสู่ประชาชน ให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและ ลดทอนอํานาจจากศูนย์กลางการพัฒนา นําเสนอแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ การอนุรักษ์ การฟื้นฟู การสืบทอด รวมถึงการพัฒนาเชิงระบบ และการพัฒนาแบบองค์รวมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้นําเอาหลักธรรมาภิบาล มาใช้ในการพัฒนา ชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิด ในกระบวนการออกแบบและวางผังชุมชน สร้างโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่น ได้แก้ปัญหา และกําหนดทิศทางของชุมชนด้วยคนในชุมชนเอง ให้ตระหนักถึงคุณค่าอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความนอบน้อมต่อสิ่งแวดล้อม สร้างกลไกการเรียนรู้เพื่อการวางผังชุมชนอย่างยั่งยืน
metadata.dc.description.other-abstract: The Lao Buang, also commonly known as Thai korat, of Nong Sano community is small and close-knit, and concentrated in the outer north of the Chokchai district. They have managed to build a strong sense of community in Nakhon Ratchasima, and have succeeded in establishing their own products. Sandstone handicraft items at Nong sano are intended to be used, having a purpose beyond simple decoration. Nowaday, their products are generaliy considered more traditional work, in traditional societies created as a necessary part of daily life. As participation of commuters become increasing important to community development in Thailand according to the National economic and social development plan, the need to develop community also becomes a primary concern. Human communities represent both a primary resource and their existence of community itself are basic reason for sustainable development, such as an agriculture community, eco-tourism community, fishing village, farming, cultural, historical communities, etc. Sustaining the community has therefore become an essential element of development usually depends on the economic, social and cultural benefits to the community and its environment. A holistic approach to sustainability requires the new approach in the process of architectural design, planning, and development. Thus, designing community architecture has to take in account social, cultural, economic and environmental aspects. The concept of developing sustainable community goes beyond the creation of a successful architecture and results more than just building with sustainable materials and technologies. The new approach, this project needs to be collectively embraced a spirit of community and explore the community background, their history, their culture, way of life, their goal – reflecting the need of the community. This process enhance towards the community development in a sustainable way.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2469
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:ARC-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PUNNARAT JARUNGKON.pdf28.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.