Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2483
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย โครงเลี้ยงเซลล์คอมโพสิตสามมิติไฟโบรอิน-แอลฟาไทรแคลเซียมฟอสเฟต สำหรับงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก |
Other Titles: | Three-dimensional fibroin-alpha tricalcium phosphate composite scaffold for bone tissue engineering |
Authors: | วรเดช พิชัยอุตกฤษฏ์ วิริยา จูวัฒนสำราญ |
Keywords: | วิศวกรรมเนื้อเยื่อ -- วิจัย;ทันตกรรม -- วิจัย |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | รายงานการวิจัย เรื่อง โครงเลี้ยงเซลล์คอมโพสิตสามมิติไฟโบรอิน-แอลฟาไทรแคลเซียม ฟอสเฟตสาหรับงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อ เป็นการวิจัยในห้องปฏิบัติการ มุ่งศึกษาให้ทราบถึงขนาดรูพรุนร้อยละของรูพรุน ความหนาแน่น ปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัส ค่าโมดูลัสแรงกด และปฏิกิริยาของเซลล์ต่อโครงเลี้ยงเซลล์ โดยใช้โครงเลี้ยงเซลล์ที่ขึ้นรูปด้วยวิธีการใช้ตัวทำละลายและชะละลายอนุภาคโดยละลายไฟโบรอินที่สกัดจากไหมไทยสายพันธุ์ผสมระหว่าง นางน้อยศรีสะเกษ 1 และ ม. ในเฮ็กซะฟลูออโรไอโซโพรพานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 16 โดยน้ำหนักต่อปริมาตรและใช้น้ำตาลซูโครสที่มีขนาดอนุภาค 250-450 ไมโครเมตรเป็นสารที่ทำให้เกิดรูพรุน การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 ชิ้น ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยโครงเลี้ยงเซลล์สามมิติที่ไม่ได้เติม α-TCP (SF)และโครงเลี้ยงเซลล์สามมิติที่เติม α-TCP ที่ความเข้มข้นต่างๆ ดังนี้ร้อยละ 4, 8, 12 และ 16 โดยน้ำหนักต่อน้ำหนัก (SF/TCP -4, SF/TCP -8, SF/TCP -12 และ SF/TCP -16 ตามลำดับ)ผลจากการวิจัย พบว่าค่าเฉลี่ยขนาดรูพรุนของโครงเลี้ยงเซลล์มีค่า 265.70 + 67.45 ไมโครเมตรส่วนค่าเฉลี่ยร้อยละรูพรุนของโครงเลี้ยงเซลล์มีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 67.74 - 86.88 โดยที่พบว่ากลุ่มSF/TCP-4 มีค่ามากที่สุด (85.12 + 0.87) ส่วนค่าเฉลี่ยความหนาแน่นในสภาวะแห้งของโครงเลี้ยงเซลล์ของกลุ่ม SF/TCP-12 มีค่ามากที่สุด (16.53 + 4.93 x10-5 กรัมต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร) ส่วนค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของโครงเลี้ยงเซลล์ในสภาวะชุ่มน้า พบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม เมื่อพิจารณาพบว่าค่าเฉลี่ยจำนวนเซลล์ของกลุ่ม SF/TCP-8 มีค่าเฉลี่ยโมดูลัสแรงกดสูงสุด (64.84 + 16.65 กิโลปาสกาล) ปริมาณแคลเซียมสูงสุด (0.87 + 0.47 ร้อยละโดยมวล) และปริมาณฟอสฟอรัสสูงสุด (0.41 + 0.29ร้อยละโดยมวล) และค่าเฉลี่ยจำนวนเซลล์มากที่สุดหลังการเพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 120 ชั่วโมง ( 3.75+ 0.66 x 104เซลล์) |
metadata.dc.description.other-abstract: | The title of this research is three-dimensional fibroin-alpha tricalcium phosphate composite scaffold for bone tissue engineering. The objective of this study was to assess the pore size, percentage of porosity, density, calcium and phosphorus contents, compressive modulus, and toxicity of scaffolds. The scaffolds were fabricated using a solvent casting and salt leaching technique. The hybrid strain of degummed Thai silk fibroin, Nangnoi Srisaket 1 x Mor, was dissolved in hexafluoroisopropanol at 16% (w/v) and sucrose (particle size 250-450 μm) was used as a porogen. The data was collected from 210 scaffolds which divided into 5 groups: silk fibroin scaffolds (SF) as a control group and silk fibroin that incorporated with alpha tricalcium phosphate (α-TCP) to produce 4, 8, 12, and 16 wt% (SF/TCP-4, SF/TCP-8, SF/TCP-12, and SF/TCP-16, respectively) The result showed that the average pore size of the scaffolds was 265.70 + 67.45 μm. The porosity of the scaffolds was in the range of 67.74 – 86.88% and the SF/TCP-4 presented the highest porosity (85.12 + 0.87 %). The SF/TCP-12 showed the highest density in dry state (16.53 + 4.93 x10-5 g/mm 3). Moreover, the density in wet state of scaffolds presented no different among group. The SF/TCP-8 exhibited the highest compressive modulus (64.84 + 16.65 kPa), the highest calcium and phosphorus content (0.87 + 0.47 weight % and 0.41 + 0.29 weight %), and the number of cells at 120 hr (3.75 + 0.66 x 104). |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2483 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Den-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WORADEJ PICHAIAUKRIT.pdf | 3.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.