Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2515
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณกมล จันทร์สม | - |
dc.contributor.author | ภูมรินทร์ รุ่งรัศมีพัฒน์ | - |
dc.date.accessioned | 2024-09-11T05:25:37Z | - |
dc.date.available | 2024-09-11T05:25:37Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2515 | - |
dc.description | การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2560 | en_US |
dc.description.abstract | การพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากนโยบายส่งเสริมการผลิตการใช้พลังงานทดแทน โดยการใช้งานจะอยู่ในรูปของพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยในปี 2557 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานทดแทนทั้งสิ้น 9,025 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.6 หรือคิดเป็นร้อยละ 11.9 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย โดยการใช้พลังงานทดแทนจะอยู่ในรูปของพลังงานความร้อนมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของการใช้พลังงานทดแทนทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ เชื้อเพลิงชีวภาพ และไฟฟ้า โดยในปี 2557 การใช้พลังงานความร้อนคิดเป็นร้อยละ 64 เชื้อเพลิงชีวภาพ และไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 19.7 และ 16.3 ตามลำดับ อุตสาหกรรมหลักที่มีการใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทนเพื่อผลิตความร้อนจะเป็นอุตสาหกรรมเกษตรทั้งสิ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมผลิตน้ำมันปาล์ม อุตสาหกรรมแป้งมันสาปะหลัง อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ อุตสาหกรรมกระดาษ โรงสีข้าว และฟาร์มปศุสัตว์ ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่มีเศษวัสดุเหลือทิ้งและของเสียจากกระบวนการผลิต ที่สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานในรูปของเชื้อเพลิงชีวมวลและก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายจากการจัดซื้อเชื้อเพลิงจากภายนอกมาใช้ ทำให้วัสดุเหลือทิ้งประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ ชานอ้อย แกลบ เศษไม้ ใยปาล์ม กะลาปาล์ม และขี้เลื่อย ได้รับความนิยมในการนำไปเป็นเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรมเกษตรอย่างกว้างขวาง ชีวมวลเป็นพลังงานทดแทนที่มีสัดส่วนมากที่สุดในการผลิตความร้อน โดยในปี 2557 มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 89 ของการผลิตพลังงานความร้อนจากพลังงานทดแทนทั้งหมด ก๊าซชีวภาพคิดเป็นร้อยละ 9 และที่เหลือเป็นพลังงานความร้อนจากขยะและพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งการผลิตพลังงานความร้อนจากขยะและพลังงานแสงอาทิตย์ยังเป็นส่วนที่ต้องการการสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ในภาคบริการและภาคครัวเรือนให้มากขึ้น ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้เกิด บริษัท คลีน เอ็นเนอร์จี พลัส จำกัด ธุรกิจรับซื้อและจัดจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวมวลจาก “กะลาปาล์ม” ให้กับอุตสาหกรรมที่ต้องการเชื้อเพลิงชีวมวลไปใช้ทดแทนน้ำมันให้เกิดความร้อน เพื่อจำหน่ายต่อให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ หม้อไอน้ำ (Boiler) ในประเทศไทย โดย บริษัท คลีน เอ็นเนอร์จี พลัส จำกัด) มีผู้จดทะเบียนถือหุ้นเพียงผู้เดียว เงินทุนเริ่มต้นทั้งหมด 5,000,000 บาท ซึ่งธุรกิจมีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานตั้งแต่ปีแรกที่ประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 46,149,579.00 บาท และเติบโตในปีที่สองเป็น 50,939,737.80 บาท และเพิ่มผลกำไรต่อเนื่องในปีต่อๆ ไป โดยธุรกิจจะสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี มูลค่าสุทธิของธุรกิจตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการ 5 ปี มีมูลค่าทั้งสิ้น 68,259,855.07 บาท และมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งสิ้น 50% แม้ว่าธุรกิจจะมีความเสี่ยงแต่ด้วยศักยภาพในการทำกำไรจะทำให้บริษัท คลีน เอ็นเนอร์จี พลัส จำกัด สามารถเติบโตและประสบผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | การวางแผนธุรกิจ | en_US |
dc.subject | ผู้ประกอบการ | en_US |
dc.title | แผนธุรกิจ : คลีน เอ็นเนอร์จี พลัส | en_US |
dc.title.alternative | Business plan : Clean Energy Plus | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.degree-name | การจัดการมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ | en_US |
Appears in Collections: | BA-MM-M-IDP |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PHUMMARRIN RUNGRATSAMEPAT.pdf | 28.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.