Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2533
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยโรคตาและสายตาบกพร่องของผู้สูงอายุในคลินิกตามหาวิทยาลัยรังสิต (พ.ศ.2563-2564)
Other Titles: การเห็นบกพร่องของผู้สูงอายุในคลินิกตามหาวิทยาลัยรังสิต
Eye diseases and visual impairment of the elderly in Rangsit University Eye Clinic (2020-2021)
The prevalence and causes of visual impairment in an elderly in University eye clinic
Authors: วัฒนีย์ เย็นจิตร
Vincent, Jerry E.
พจมาลย์ ไชยศิริ
ยศอนันต์ ยศไพบูลย์
ภัชภิชา ยกกาพล
พัชรินทร์ พลอยสิทธิ์
สมสงวน อัษญคุณ
Keywords: ตา -- โรค -- ในผู้สูงอายุ;โรคตา;ผู้สูงอายุ -- โรค;สายตาผิดปกติ
Issue Date: 2566
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: รายงานเรื่องโรคตาในผู้สูงอายุในคลินิกตาของมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มี วัตถุประสงค์ เพื่อต้องการทราบความชุกของโรคตาของผู้สูงอายุที่มาตรวจตาที่คลินิกตา มหาวิทยาลัยรังสิต โดยการทบทวนประวัติการ ตรวจตา และรักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่มีอายุ มากกว่า 60 ปี ที่มารับการตรวจรักษาที่ RSU Healthcare ในปี พ.ศ. 2563 ถึง 2564 โดยบันทึก เพศ อายุ โรคประจาตัว ผู้ป่วยได้รับการวัดสายตาโดยนักทัศนมาตร และตรวจตาโดยจักษุแพทย์ นำค่าความผิดปกติของสายตาและโรคตามาวิเคราะห์หา ความสัมพันธ์กับเพศ และช่วงอายุ โดยใช้สถิติ chi square และ regression models ผลการศึกษา พบว่าในระยะ 2 ปี มีผู้ป่วยมารับการตรวจตาทั้งสิ้น 22,563 คน เป็นผู้สูงอายุ 1,452 คน อายุมากกว่า 60 ถึง 101 ปี เฉลี่ย 69.6 ± 8.09 ปีโรคตาที่พบมากที่สุด คือ สายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข ร้อยละ 71.14, ต้อกระจก ร้อยละ 69.77, ต้อหิน ร้อยละ 21.90, น้าวุ้นตาเสื่อม ร้อยละ 14.60, ต้อเนื้อ ต้อลม และหนังตาผิดปกติร้อยละ 10.67, ตาแห้ง ร้อยละ 8.47, จอตาขาดมีรูร้อยละ 6.89, พังผืดที่จอตา ร้อยละ 5.85, เบาหวานเข้าจอตา ร้อยละ 4.75 และ จุดภาพชัดจอตาเสื่อม ร้อยละ 4.13 จากการวิเคราะห์ทางสถิติของโรคตา พบว่า ความชุกของต้อกระจก พบมากตามอายุที่มากขึ้น (P<0.001) โดย ช่วงอายุ 70-79 ปี มีโอกาสการเกิดต้อกระจก มากกว่าช่วงอายุ >60-69 ปี ประมาณ 5.5 เท่า และ ช่วงอายุ ≥80 ปี มีโอกาสการเกิด ต้อกระจก มากกว่าช่วงอายุ >60-69 ปี ประมาณ 8.9 เท่า และมีความแตกต่างระหว่างเพศ (p=0.005) โดยเพศหญิง มีโอกาสการเกิด ต้อกระจก มากกว่าเพศชายประมาณ 1.4 เท่า ต้อหินพบมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น (p < 0.001) กลุ่มช่วงอายุที่เพิ่มขึ้นมีจานวนการเกิดต้อหินสูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติโดยช่วงอายุ 70-79 ปี มีโอกาสการเกิดต้อหิน มากกว่าช่วงอายุ >60-69 ปี ประมาณ 2 เท่า และ ช่วงอายุ ≥80 ปี มีโอกาสการเกิดต้อหินมากกว่าช่วงอายุ >60-69 ปี ประมาณ 3.5 เท่า แต่ไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศ (p=0.573) ความชุกของจุดภาพชัดจอตาเสื่อม สัมพันธ์กับอายุที่ เพิ่มมากขึ้น (p<0.001) โดยกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีและมากกว่ามีการเกิดโรคจุดภาพชัดจอตาเสื่อมมากกว่าช่วงอายุ >60-69 ปี ประมาณ 10.6 เท่า และเมื่อทดสอบโรคจุดภาพชัดจอตาเสื่อมกับเพศ ผลการทดสอบ พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญที่ (P = 0.152) เบาหวานเข้าจอตา ผลการทดสอบความสัมพันธ์กับช่วงอายุพบว่า มีความ สัมพันธ์กับช่วงอายุ (P <0.001)โดยช่วงอายุ ≥80 ปี มีโอกาสการเกิดเบาหวานเข้าจอตา มากกว่าช่วงอายุ >60-69 ปี ประมาณ 5.4 เท่า แต่ไม่มีความสัมพันธ์กันเพศที่ P = 0.912 พังผืดที่จอตา มีความสัมพันธ์กับช่วงอายุ (P <0.001) โดยช่วงอายุ 70-79 ปี มีโอกาสการเกิด พังผืดที่จอตา มากกว่าช่วงอายุ >60-69 ปี ประมาณ 2.3 เท่า และ ช่วงอายุ ≥80 ปีและมากกว่า มีโอกาสการเกิดพังผืดที่จอตา มากกว่าช่วงอายุ >60-69 ปี ประมาณ 3.8 เท่า แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับเพศ (P = 0.189) จอตาขาด มีรู บาง และเสื่อม เมื่อทดสอบความสัมพันธ์กับช่วงอายุ พบว่ามีความสัมพันธ์กัน (P = 0.006) โดยอายุ 70-79 ปี มีโอกาสเกิดจอตาขาด มีรู บาง เสื่อม มากกว่ากลุ่มอายุ >60-69 ปี 1.6 เท่า และเมื่ออายุ≥80 ปี ปี มีโอกาสเกิดจอตาขาด มีรู บาง และเสื่อม มากกว่ากลุ่มอายุ >60-69 ปี 2.1 เท่า และเมื่อทดสอบความสัมพันธ์กับเพศ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน ( P = 0.246) โรคตาที่พบและรายงานครั้งแรกในประเทศไทย คือ จุดภาพชัดจอตาเสื่อมจากสายตาสั้น ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้ พบน้อยเพียง 1.5% เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างจุดภาพชัดจอตาเสื่อมจากสายตาสั้นกับช่วงอายุ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน (P= 0.236) และไม่มีความสัมพันธ์กับเพศ (P=0.139) สรุปความชุกของโรคตาในผู้สูงอายุในคลินิกตาของมหาวิทยาลัยรังสิต พบว่า ส่วนใหญ่จะเป็นโรคต้อกระจก และต้อหิน สาเหตุที่พบมากขึ้นในการศึกษาครั้งนี้ คือ โรคของตาส่วนหลัง ได้แก่ จอตาขาด พังผืดที่จอตา เบาหวานเข้าจอตา จุดภาพชัดจอตาเสื่อม และโรคตาที่ไม่เคยรายงานมาก่อน คือ จุดภาพชัดจอดาเสื่อมจากสายตาสั้นมาก โรคตาทั้งหมดสามารถคัดกรองได้โดยนักทัศนมาตร ในคลินิกคัดกรองโรคตาปฐมภูมิ และการส่งไปพบจักษุแพทย์เร็วจะ ทาให้การรักษาได้ผลดี รักษาการมองเห็นไว้ได้ และใช้ทรัพยากรน้อย นักทัศนมาตรจึงตัองรู้จัก การคัดกรองโรคตา ปฐมภูมิ การส่งเสริมสุขภาพตา การป้องกันโรคตา และการฟื้นฟูสุขภาพตา. รายงานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์: ต้องการทราบความชุกและสาเหตุของการเห็นบกพร่องของผู้สูงอายุ ที่มาตรวจตาที่คลินิกตา มหาวิทยาลัยรังสิต (RSU Healthcare) โดยวิธีการทบทวนประวัติการตรวจตา และรักษา พยาบาลของผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีและมากกว่า ในปี พ.ศ. 2563 ถึง 2564 โดยบันทึก เพศ อายุ โรคประจาตัว ประวัติอุบัติเหตุทางตา ผู้ป่วยได้รับการวัดสายตาโดยนักทัศนมาตร และตรวจตาโดยจักษุแพทย์ นาข้อมูลมาวิเคราะห์หาความชุกและสาเหตุของการเห็นบกพร่อง การวินิจฉัยความบกพร่องของการเห็นใช้ตามคาจากัดความขององค์การอนามัยโลก ผลการศึกษา พบว่าในระยะ 2 ปี มีผู้ป่วยมารับการตรวจตาทั้งสิ้น 22,563 คน เป็นผู้สูงอายุ 1,452 คน อายุมากกว่า 60 ถึง 101 ปี เฉลี่ย 69.6 ± 8.09 ปี การแบ่งประเภทของการเห็นบกพร่อง จะวินิจฉัยโดยแบ่งตามระดับสายตาที่วัดได้ เมื่อมารับการตรวจครั้งแรก (Presenting Visual Acuity, PVA) และสายตาที่ได้รับการแก้ไขดีที่สุด (Best Corrected Visual Acuity, BCVA) ในตาข้างที่เห็นดีกว่า พบว่าผู้สูงอายุมีการเห็นบกพร่องเมื่อใช้ PVA เป็นตาบอด 9 คน มีสาเหตุจากต้อกระจก 11.1% โรคของจอตาและน้าวุ้น 66.7% และต้อหิน 22.2% สายตาเลือนราง 101 คน โดยมีสาเหตุจากสายตาผิดปกติ 67.3% ต้อกระจก 18.8% โรคของจอตาและน้าวุ้น 8.9% ต้อหิน 3% และ กระจกตาย้วย 2% เมื่อใช้ BCVA เป็นเกณฑ์ จะมีผู้สูงอายุมีระดับสายตาระดับตาบอด 1 คน จากโรคจุดภาพชัดจอตาเสื่อมจากสายตาสั้นมาก สายตาเลือนรางพบได้ 16 คน จากโรคของจอตาและน้าวุ้น (43.7%) ต้อกระจก (37.5%) และอีก 3 โรค ได้แก่ สายตาผิดปกติ ต้อหิน ม่านตาอักเสบ พบเท่าๆกันโรคละ 6.25% การมองเห็นบกพร่องไม่เพิ่มขึ้นตามอายุที่มาก ขึ้น (p=0.125) และไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศ (p=0.521) สรุปว่าสาเหตุของการเห็นบกพร่องได้เปลี่ยนแปลงไป โดยสาเหตุจากสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข และต้อหินยังพบได้ตามเดิม แต่ความชุกน้อยลง ส่วนต้อกระจกได้รับการแก้ไขจากระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าทาให้ไม่เป็นสาเหตุที่สาคัญ โรคของตาส่วนหลังที่ทาให้การเห็นบกพร่องเริ่มพบมากขึ้น โดยเฉพาะจุดภาพชัดจอตาเสื่อมจากสายตาสั้นซึ่งไม่เคยมีรายงานมาก่อนในประเทศไทย โรคที่ทาให้เห็นบกพร่องทั้งหมด สามารถตรวจพบได้จากการคัดกรองโดยนักทัศนมาตร ในคลินิกคัดกรองโรคตาปฐมภูมิ ถ้าพบและส่งต่อ หรือได้รับการรักษาเร็ว จะลดจานวนผู้มีการเห็นบกพร่องได้มาก โครงการส่งเสริมสุขภาพตา โดยการให้ความรู้ และคัดกรองโรคตาปฐมภูมิโดยบุคลากรสาธารณสุขที่มีความรู้ทางโรคตาและสายตา จึงมีความจาเป็นในปัจจุบัน เพื่อป้องกันการเห็นบกพร่องทางตา
metadata.dc.description.other-abstract: The aim of this study is to assess the current rates of eye diseases among the elderly as presenting to Rangsit University eye services. This study used a retrospective chart review of eye patients, aged 60 and above as presenting to RSU Healthcare eye services in 2020-2021. Of the 1,941 elderly presentations 1,452(74.8%) had complete eye examination data and 1,267 had refraction data. Refractive error was present in 81.53%; Cataract and pseudophakia in 69.77%; Glaucoma in 21.90%; Posterior vitreous detachment in 14.60%; pinguecula, pterygium, lid disease in 10.67%; Dry eyes in 8.47%; Retinal breaks in 7.02%; Epiretinal membrane in 5.85%; Diabetic Retinopathy in 4.75%; Age related macular degeneration in 4.13%; Corneal diseases in 2.41%; and Myopic macular degeneration in 1.1%. Refractive error, cataract and pseudophakia, glaucoma, retinal breaks & macular holes, epiretinal membrane, diabetic retinopathy, age related macular degeneration and corneal disease were all found to be associated with increasing age while pinguecula, pterygium and lid diseases was associated with decreasing age. Cataract and pseudophakia, posterior vitreous detachment and dry eyes were more likely to occur in women while pinguecula, pterygium and lid diseases and corneal diseases were more likely to occur in men. These results were fairly comparable to similar studies. When compared to the national prevalence rates as determined by survey, rates of presenting conditions in this study tended to be higher, most likely due to the study population being more urban, better educated and with higher income than the national average. The rapidly aging Thai population, epidemiological shift towards non-communicable diseases (NCDs) which are associated with vision loss, and the expected higher rates of myopia and emergence myopic macular degeneration means that Thailand’s elderly will face increasing risks of blindness and vision impairment. Thailand’s ophthalmologists and optometrists need to remain vigilant of the vision and ocular health of the elderly. The study of visual impairment in the elderly is very interesting because visual impairment remains a major public health problem worldwide and in Thailand. The objectives of this study is to assess the prevalence and causes of visual impairment in an elderly attending Rangsit University Eye Clinic. A retrospective study of patients over 60 years old attending RSU Healthcare between January 1, 2020 and December 31, 2021. Presenting visual acuity (PVA) and Best-corrected visual acuity (BCVA) of the better eye was measured using Snellen visual acuity chart. Blindness and low vision (the new terminology is moderate and severe visual impairment) was defined per World Health Organization (WHO) as blindness was vision worse than 20/400 in the best seeing eye and Low Vision was defined as vision worse than 20/60 up to 20/400 in the best seeing eye. The major causes of visual impairment were identified for all patients who were visually impaired. They showed that 1,452 (98%) had completed examination. Using PVA the prevalence of blindness and low vision in the best seeing eye was 0.62% and 7.0 % respectively. Using BCVA, the rates of blindness and low vision were reduced to 0.07% and 1.1% respectively. Comparing to the 2014 Rapid Assessment of Avoidable Blindness (RAAB) survey in Thailand in those age 50 years and above, the blindness and ญ low vision prevalence were 0.6%. and 13.9% respectively. The difference between these two reports possibly due to age distribution of the population which were younger should be less visual impairment and population based study should have less diseases than prevalent study in the eye clinic. The other contributing factors in this study was economic status of the older people attending the RSU eye clinic which paid more attention to their eye health. Low vision related with older age (p=0.001) as the patient were older they got less low vision possible by more ocular treatment as the patient grew older to prevent visual impairment, and no gender difference was seen (p=0.551). Based on the BCVA, the major causes of visual impairment was vitreo-retinal diseases (1.93%) followed by cataract (1.86%) and glaucoma (0.7%). The emerging cause of visual impairment in this study was myopic macular degeneration. For conclusion, there was a lower rate of visual impairment in the elderly in an university eye clinic located in urban central Bangkok compare to the elderly in the RAAB survey in 2014. The major cause were treatable eye diseases such as cataract. Less prevalent were eye diseases that are less treatable or manageable as posterior segment eye diseases. The burden from eye diseases which are less treatable will likely increase in the future. Refractive errors, a major cause of visual impairment in the past is found to remain a major cause of poor presenting visual acuity of the patients in this study. The major challenge for elderly eye care are supporting good refraction, early diagnosis and prompt treatment of vitreo-retinal diseases and glaucoma including accessible, affordable eye screening as primary eye care clinic for the elderly
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2533
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Opt-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WATANEE JENCHITR.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.