Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2539
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต
Other Titles: Predicting factors of health promoting behaviors among undergraduate students in Rangsit University
Authors: นิภา กิมสูงเนิน
ศุภรัตน์ แป้นโพธิ์กลาง
Keywords: มหาวิทยาลัยรังสิต -- นักศึกษา -- พฤติกรรม;พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ;การส่งเสริมสุขภาพ -- ไทย -- ปทุมธานี
Issue Date: 2566
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยขน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคล อิทธิพลสถานการณ์สิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 438 คน โดยใช้แบบสอบถามที่มี 3 ตอน ได้แก่ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และ 3) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคล และอิทธิพลสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .99 หาค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคของแบบสอบถามส่วนที่ 2 และ 3 เท่ากับ .76 และ .84 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และอำนาจการทำนายโดยใช้สถิติวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 (SD = 0.33) ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา อยู่ในระดับต่ำ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.81 และ 1.89 (SD = 0.35, 0.77) 2) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับต่ำ-ปานกลาง (p < .05; r = .157, .231, 148, .401) ส่วนเพศ คณะที่ศึกษามีความสัมพันธ์ทางลบอยู่ในระดับต่ำ (p < .05; r = .-193, .-130) และ 3) เพศ ดัชนีมวลกาย การรับรู้ประโยขน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตน สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้ร้อยละ 24.8 (R2 = .248, p < .05)
metadata.dc.description.other-abstract: The purpose of this research were to study correlation and predictability of personal data, perceived benefits of behaviors, perceived barriers to health promoting behaviors, perceived self-efficacy, interpersonal influence and situational influences in health-promoting behaviors among undergraduate students in Rangsit University. The sample consisted of 438 students’ year 1-4 for the 2021 academic year. The Instruments utilized by the data collection consisted of 1) general information questionnaire 2) health promoting behaviors and 3) questionnaires on perceived benefit, perceived barrier, perceived self- efficacy, interpersonal influence, situational influences. The questionnaires were proved for content validities index by three experts: CVI resulting in .99 and were tested for reliability by using Cronbach’s alpha coefficient in part 2-3 resulting in 0.76 and 0.84 respectively. General data were analyzed by using descriptive statistics. Pearson’s product moment correlation coefficient and multiple regressions were used to analyze the relations and the predictive power. The results of this study as follows: 1) The total mean score for health promoting behaviors was 2.37 (SD = 0.33), and had scores at a moderated level. while sexual risk behavior, smoking and alcohol consumption behaviors were low level 2) perceived benefits of health promoting behavior, perceived barriers of health promoting behaviors, interpersonal influence and perceived self-efficacy in health promoting behaviors were significantly positive correlated at low and moderate level with health promoting behaviors (p < .05; r = .157, .231, 148, .401) but gender, faculty enrolled were significantly negative correlated at low level with health promoting behaviors (p < .05; r = .-193, .-130)and 3) Significantly predictors health promoting behaviors of Undergraduate University Students, Rangsit University were gender, BMI, perceived benefits of health promoting behavior, perceived barriers of health promoting behaviors, and perceived self-efficacy in health promoting behaviors (p<.05). The predictive power was 24.8 % of the variance (Adjusted R2 = 0.248, p ‹ .05).
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2539
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Nur-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NIPA KIMSUNGNOUN.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.