Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2545
Title: | รายงานผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การประเมินระดับรังสีในหัตถการทางรังสีร่วมรักษาโดยใช้อุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอลชนิดนาโนดอท สำหรับงานรังสีวินิจฉัย |
Other Titles: | Assessment of radiation level in interventional radiology by using a osl nanodot-type device for diagnostic radiology |
Authors: | กัญจนพร โตชัยกุล |
Keywords: | การบันทึกภาพด้วยรังสีทางการแพทย์ -- เครื่องมือและอุปกรณ์;รังสี -- มาตรการความปลอดภัย;รังสีวินิจฉัย |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | รังสีร่วมรักษาเป็นศาสตร์หนึ่งทาง รังสีวิทยา ที่สามารถวินิจฉัยและรักษารอยโรคผ่านทางสายสวนหลอดเลือด แต่ผู้ปฏิบัติงานอาจได้รับรังสีตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานถึงแม้จะใช้ อุปกรณ์สำหรับป้องกันรังสีก่ อตาม โดยอาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น จากข้อมูลดังกล่าว งานวิจัยนี้ จึง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินระดับปริมาณรังสีที่เกิดขึ้น ในหัตถการรังสีรวมรักษา กับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบไปด้วย รังสีแพทย์ พยาบาลและนักรังสีการแพทย์ โดยใช้ อุปกรณ์วัดรังสีชนิด โอเอสแอล ชนิดนาโนดอท เป็นตัววัดค่าปริมาณรังสีที่เกิดขึ้นจริง ณตำแหน่งต่างๆของร่างกาย เช่น มือ , ทรวงอก , ตาและเอวผลการวิจัยพบว่าผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ใกล้ หลอดเอกซเรย์ มีความเสี่ยงได้รับปริมาณรังสีเยอะที่สุดรวมถึงอวัยวะด้านข้างที่อยู่ใกล้ หลอดเอกซเรย์ ได้รับปริมาณรังสีเยอะที่สุด คือ มือ โดยมีปริมาณรังสีมากสุดคือ 0.4 0.6 มิลลิซีเวิร์ต ส่วน ทรวงอก ในเสื้อตะกั่วได้รับปริมาณรังสีน้อยที่สุดคือ 0.01 0.03 mSv นอกจากนี้ ยังพบว่าความยาวของสายสวนหลอดเลือดส่งผลต่อปริมาณรังสีโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามระดับปริมาณรังสีดังกล่าวยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยตามหลัก ไอซีอาร์พี ซึ่งสรุปได้ ว่า อุปกรณ์วัดรังสีชนิด โอเอสแอล ชนิดนาโนดอท เหมาะสมสำหรับใช้นับวัดปริมาณรังสีสะสมในตัวบุคคลโดยสามารถใช้ติดตามอวัยวะต่างๆในร่างกาย หรือสามารถนำไปวัดค่า ณ จุดต่างๆที่มีการใช้รังสี และนำมาวัดค่า เพื่อประเมินระดับรังสีได้ ได้รวดเร็ว เพื่อที่จะสามารถประเมินความเสี่ยงและแนวทางสำหรับการตรวจรวมถึงพัฒนาอุปกรณ์และกระบวนการตรวจให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ป่วย |
metadata.dc.description.other-abstract: | Interventional radiology is a branch of radiology that can diagnose and treat lesions through a catheter. However, workers may be exposed to radiation throughout their work even though they use radiation protection equipment. There may be a risk of unnecessary radiation exposure. From this information, the objective of this research is to evaluate the level of radiation dose that occurs in interventional radiology with operators. This includes radiologists, nurses and radiologic technologist. Using a OSL-Nano Dot radiation measuring device to measure the actual amount of radiation occurring at various locations on the body such as hand, chest, eye and waist. The results showed that workers near the X-ray tube were at risk of receiving the high amount of radiation and the side organs near the X-ray tube received the high amount of radiation. The hands received the highest amount of radiation, which was 0.4 0.6 mSv. The chest in lead shielding received the least amount of radiation, which was 0.01 0.03 mSv. It was also found that the length of the catheter directly affected the radiation dose. However, the level of radiation is still within the safe limits according to ICRP principles. It can be concluded that the OSL nanodot radiation measurement device is suitable for measuring the accumulated amount of radiation in a person. It can be used to track various organs in the body and can be measured to quickly assess radiation levels In order to be able to assess risks and guidelines for diagnostic including developing diagnostic equipment and processes for maximum benefit to workers and patients |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2545 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | RdT-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
GUNJANAPORN TOCHAIKUL.pdf | 765.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.