Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2561
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการรักษาด้วยการฝังเข็มศีรษะกับการฝังเข็ม ที่จุดปวดเอว (เยาโท่งเตี่ยน) ที่มือแบบกระตุ้นไฟฟ้าในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง : การทดลองเปรียบเทียบแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม |
Other Titles: | Comparison of the effectiveness of Scalp and YaoTong Dian point electro-acupuncture in patients with lower back pain : a comparative randomized controlled trials |
Authors: | ภาสกิจ วัณนาวิบูล |
Keywords: | การฝังเข็ม -- การใช้รักษา -- วิจัย;การรักษาด้วยการฝังเข็ม -- วิธีการ;ปวดหลัง -- การรักษา -- วิจัย;การฝังเข็ม -- จีน;แพทย์แผนจีน |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | รายงานวิจัยเรื่อง" การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการรักษาด้วยการฝังเข็มศีรษะกับการฝังเข็มที่จุดปวดเอว(เยาโท่งเตี่ยน) ที่มือ แบบกระตุ้นไฟฟ้า ในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง : การทดลองเปรียบเทียบแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน จากผู้ใช้บริการสหคลินิกการแพทย์แผนตะวันออก(ไทย-จีน) มหาวิทยาลัยรังสิต ทำการเก็บบันทึกการรักษาจากข้อมูลจากกลุ่มผู้ป่วยแบบสุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมรวม 2 กลุ่มๆละ 20 คน โดยใช้การประเมินข้อมูลด้วยแบบสอบถามความปวดแบบแมคกิลล์แบบย่อ(Shortform McGill Pain Questionnaire) และ Neuropathy Pain Scale (NPS) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ประสิทธิผลของการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยการฝังเข็มศีรษะแบบกระตุ้นด้วยไฟฟ้า จากการเก็บข้อมูลที่แสดงร้อยละความแตกต่างของผลการทดสอบก่อนและหลังการรักษาไฟฟ้าของอาสาสมัคร 20 คน เป็นจำนวน 3 ครั้ง พบว่า ค่าความต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการรักษาครั้งแรกเท่ากับ 2.37 ครั้งที่สองเท่ากับ 1.5 และ ครั้งที่สามเท่ากับ 1.83 กล่าวได้ว่าผลของการรักษาสามครั้ง มีค่า t-stat มากกว่า t-table ทุกตัว หมายความว่าความเจ็บปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีค่าความผิดพลาด (Sig) น้อยกว่าร้อยละ 0.05 ส่วนผลการฝังเข็มที่จุดปวดเอว(เยาโท่งเตี่ยน) ที่มือแบบกระตุ้นไฟฟ้า ของอาสาสมัคร 20 คน เป็นจำนวน 3 ครั้ง พบว่า ค่าความต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการเท่ากับ 2.35 ครั้งที่สองเท่ากับ 2.12 และครั้งที่สามเท่ากับ 1.45 กล่าวได้ว่าผลของการรักษาทั้งสามครั้ง มีค่า t-stat มากกว่า t-table ทุกตัว หมายความว่าความเจ็บปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีค่าความผิดพลาด(Sig) น้อยกว่าร้อยละ 0.05 สรุปได้ว่าความแตกต่างระหว่างก่อนรักษาและหลังรักษาของทั้ง 2แบบมีผลเชิงบวก การรักษามีผลดีในเชิงสถิติการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลการรักษาระหว่างการฝังเข็มศีรษะด้วยไฟฟ้า กับการฝังเข็มที่จุดปวดเอว(เยาโท่งเตี่ยน) ที่มือ แบบกระตุ้นไฟฟ้า ค่าเฉลี่ย (Mean) ก่อนการรักษาครั้งแรกและหลังการรักษาครั้งที่สามของการรักษาด้วยการฝังเข็มศีรษะแบบกระตุ้นด้วยไฟฟ้า จะมีค่าเฉลี่ยต่างกันเท่ากับ 5.6 และมีค่าเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 1.29 เมื่อเปรียบเทียบแบบเดียวกันของการฝังเข็มที่จุดปวดเอว(เยาโท่งเตี่ยน) ที่มือ มีค่าเฉลี่ยต่างกันเท่ากับ 4.97 และมีค่าเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 1.25 สรุปได้ว่า ระดับความแตกต่างของผลการรักษาทั้งสามครั้งของการกระตุ้นทั้งสองวิธีนั้นไม่แตกต่างกัน และระดับความแตกต่างของความเจ็บปวดก่อนรักษาครั้งแรกและหลังรักษาครั้งที่สามของการกระตุ้นทั้งสองวิธีได้ผลที่ดีขึ้นไม่แตกต่างกัน |
metadata.dc.description.other-abstract: | The qualitative research report on " Comparison of the effectiveness of Scalp and YaoTong Dian point electro-acupuncture in patients with lower back pain : a comparative randomized controlled trial qualitative research. By collecting data from a sample of 40 people from the Oriental Medicine Clinic (Thai-Chinese), Rangsit University. The treatment records were collected from data from a random cohort of patients. Two groups of 20 patients were divided into experimental and control groups. Data were assessed using the Shortform McGill Pain Questionnaire and the Neuropathy Pain Scale (NPS). Percentage Mean Standard Deviation (S.D) From collecting data showing the percentage difference of the test results before and after of the scalp electro-acupuncture low back pain treatment , assigned treatment of 20 volunteers for 3 times, it was found that the mean difference before and after the first treatment was 2.37. was 1.5 and the third was 1.83. It is said that the effectiveness of the three treatments had a greater t-stat than all t-tables, implying a significant reduction in pain. which has an error value (Sig) less than 0.05%. As for the electro-acupuncture on the lumbar pain points (Yao Tong Tien) on the electro-stimulation of the hands of 20 volunteers for 3 times, the mean difference before and after was 2.35, the second time was 2.12, and the third was 1.45. It is said that the effect of all three treatments was greater than the t-stat for all t-tables, meaning that pain was significantly reduced. which has an error value (Sig) less than 0.05%. It can be concluded that the difference between before treatment and after treatment of both 2 groups have a positive effect The treatment was statistically favorable. Efficacy comparison of treatment effects between scalp electro-acupuncture and hand at lumbar pain points (Yao Tong Dian) electro-acupuncture. Mean before the first treatment and after the third treatment of scalp electro-acupuncture, mean difference was 5.6 and a mean deviation was 1.29. When comparing the same method of acupuncture at lumbar pain points (Yao Tong Tien) on the hand had a mean difference was 4.97 and the deviation from the mean was 1.25. It was concluded that the degree of difference in the three treatment effects of the two stimulation methods was not different. and the difference in pain levels before the first treatment and after the third treatment of the two groups were not different. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2561 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Ort-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
BHASAKIT WANNAWI.pdf | 552.28 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.