Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2602
Title: การบริหารจัดการของกรมวิชาการเกษตรต่อการส่งออกทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี
Other Titles: Management of the department of agriculture on durian export in Chanthaburi Province Varying
Authors: กันตินันท์ จัตุรัส
metadata.dc.contributor.advisor: สมิตา กลิ่นพงศ์
Keywords: กรมวิชาการเกษตร -- บทบาทและหน้าที่;ทุเรียน -- การส่งออก -- จันทบุรี;การบริหารจัดการ -- กรมวิชาการเกษตร
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาแบบกรณีเดียว วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาถึงประสิทธิภาพและการจัดการของกรมวิชาการเกษตรที่ทาให้คุณภาพของทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีมีประสิทธิภาพที่ดีเหมาะสมแก่การส่งออก 2) ศึกษาถึงปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกทาให้คุณภาพของทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีมีประสิทธิภาพที่ดีเหมาะสมแก่การส่งออก และ 3) นาข้อมูลที่ได้นำมาพัฒนาการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ผ่านการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและเลือกเก็บข้อมูลจากเกษตรกรชาวสาวทุเรียนและพนักงานของกรมวิชาการเกษตรในจังหวัดจันทบุรีด้วยการบันทึกเสียง และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ทั้งสิ้น 10 คน มีอาชีพเป็นเกษตรกร จำนวน 8 คน และเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร จำนวน 2 คน จากการให้ข้อมูลของผู้ให้สัมภาษณ์ พบว่าการบริหารจัดการของกรมวิชาการเกษตรต่อการส่งออกทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี มี 3 แนวทางด้วยกัน อันประกอบไปด้วย 1) การส่งออกทุเรียนที่มีประสิทธิภาพ โดยมีข้อค้นพบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระบบขนส่ง ล้งที่รับซื้อ การตรวจเปอร์เซ็นต์แป้ง และการบารุงผลผลิต 2) ปัจจัยการผลิตทุเรียน มีข้อค้นพบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ และเคมีภัณฑ์ 3) การบริหารจัดการของกรมวิชาการเกษตรต่อการส่งออกทุเรียน โดยมีข้อค้นพบที่เกี่ยวข้องได้แก่ แหล่งข้อมูลข่าวสารซึ่งเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ของภาครัฐเป็นผู้ให้ข้อมูล และการตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหา โดยภาครัฐเข้ามาควบคุมดูแลและแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร
metadata.dc.description.other-abstract: This study employed a qualitative approach with a focus on a single case study. The objectives of this study were 1) to investigate efficiency and management of the Department of Agriculture which developed the quality of durian in Chanthaburi Province to bring it up to export-quality standards, 2) to examine the internal and external factors influencing the quality of durian of farmers in Chanthaburi Province, 3) and to utilize the necessary information to develop efficient management of the Department of Agriculture. In this study, the samples were selected using the purposive sampling method, and the data were collected through a semi-structured interview. In addition, the interviews with voice recording were also conducted with 10 key informants, including eight farmers and two employees of the Department of Agriculture in Chanthaburi Province. The study findings unveiled three key guidelines utilized by the Department of Agriculture to enhance the quality of durians. The initial guideline pertained to the export of high-quality durians, encompassing four sub-aspects: transportation, intermediaries, durian weighing, and durian storage. The second guideline focused on durian production, encompassing sub-aspects such as soil quality, water management, weather conditions, and chemical usage. The final guideline pertained to the Department of Agriculture's management, encompassing sub-aspects such as information exchange between farmers and officers, as well as problem-solving mechanisms
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2566
metadata.dc.description.degree-name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: บริหารธุรกิจ
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2602
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:BA-BA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KANTINAN JATURAT.pdf900.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.