Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2615
Title: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีภาวะอ้วน
Other Titles: Predicting factors of health promoting behaviors of university students with obesity
Authors: อัญชนา สุวรรณชาติ
metadata.dc.contributor.advisor: อาภาพร นามวงศ์พรหม
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
Keywords: ภาวะอ้วน;พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ -- วิจัย;นักศึกษา -- โภชนาการ -- พฤติกรรม -- วิจัย
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาที่มีภาวะอ้วน โดยใช้ทฤษฎีของ Pender (1996) เป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่มีภาวะอ้วนและเข้ารับบริการในการรักษาโรคทั่วไปที่คลินิกมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 126 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านได้แก่ ด้านโภชนาการ กิจกรรมทางกาย และการจัดการความเครียดอยู่ในระดับไม่ดี การรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง (r = .494) และการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่า (r = -.351) กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .01 และสามารถร่วมกันทานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ได้ร้อยละ 33.90 ผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานจัดโครงการหรือโปรแกรมเพื่อรณรงค์ให้นักศึกษามีความตระหนักในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
metadata.dc.description.other-abstract: This predictive research aimed to investigate health promoting behaviors and predictive factors of health promoting behaviors among students with obesity. Pender's health promotion model (Pender, 1996) was employed as a conceptual framework. A purposive sampling of 126 students was selected from students with obesity who received general medical services at the university clinic. Data were collected using personal data information sheet, and questionnaires regarding health promoting behavior, perceived benefits, perceived barriers, perceived self- efficacy, and social support in the practice of the health promotion behaviors. Descriptive statistics were used to describe sample characteristics and health promoting behaviors. Prediction among factors was analyzed by Pearson Product Moment Correlation and Stepwise Multiple Regression. The findings revealed that both overall aspects and each aspect of health promoting behaviors including eating behaviors, physical activities, and stress management were at low level. There was a moderate positive correlation between health promoting behaviors and self-efficacy (r = .494), and low-level negative correlation with perceived barriers (r = -.351) at p. < .01. Together, perceived self-efficacy and perceived barriers were able to predict health promoting behaviors at 33.90%. Campaign Projects is suggested to motivate students to engage in the health promoting behaviors including both physical and mental health
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู่ใหญ่และผู้สูงอายุ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2566
metadata.dc.description.degree-name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2615
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ANCHANA SUWANNACHAT.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.