Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2622
Title: | ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง สมรรถภาพทางกายและการกลับเข้ารักษาซ้ำของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว |
Other Titles: | Effectiveness of promoting self- care ability program on self-care behavior, functional ability, and readmission in patients with heart failure |
Authors: | นันท์ชฉัตร โชติตันติไพศาล |
metadata.dc.contributor.advisor: | รัชนี นามจันทรา วารินทร์ บินโฮเซ็น |
Keywords: | ภาวะหัวใจล้มเหลว -- การรักษา;พฤติกรรมการดูแลตนเอง;สมรรถภาพทางกาย -- วิจัย |
Issue Date: | 2567 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (Quasiexperimental two group pretest posttest research design) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม ส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง สมรรถภาพทางกายและการ กลับเข้ารักษาซ้า ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่างมี 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คนได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาล ตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง การประเมินสมรรถภาพทางกาย และแบบบันทึกการกลับ เข้ารับการรักษาซ้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi–Square test, Paired t-test, Independent t-test, Wilcoxon sign rank test, Mann-Whitney U test และ Fisher’s exact test ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองและ สมรรถภาพทางกายสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<.001) กลุ่มทดลองไม่มีผู้กลับ เข้ารักษาซ้ำส่วนกลุ่มควบคุมมีผู้กลับเข้ารักษาซ้ำจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10.0 การเปรียบเทียบ อัตราการกลับเข้ารักษาซ้ำ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าไม่แตกต่างกัน (p>.05) ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะให้มีการส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว และมีการติดตามการคงอยู่ของพฤติกรรมการดูแลตนเอง สมรรถภาพทางกาย และผลลัพธ์อื่น ๆ |
metadata.dc.description.other-abstract: | This quasi-experimental two group pretest-posttest research design aimed to study the effectiveness of promoting self-care ability on self-care behavior, functional ability and readmission in patients with heart failure. Sixty patients were divided equally into an experiment group which received the program to promote self-care ability, while a control group received the usual care. Data were collected by personal information and medical record form, self-care behavior of patients with heart failure questionnaires, functional ability assessment and a readmission record form. Data were analyzed using descriptive statistics, Chi–Square test, Paired t-test, independent t-test, Wilcoxon sign rank test, Mann-Whitney U test and Fisher’s exact test. The results found that after the experiment, the experiment group had self-care behavior score and functional ability higher than the control group, which was statistically significant (p<.001). In addition, no one in the experiment group had re-admitted, while three patients (10%) in the control group had re-admitted. However, it was not significantly different (p>.05) in re-admission rate between the two groups. It is recommended to promote self-care ability for heart failure patients. Moreover, there should be a follow-up to the sustainability of self-care behavior and functional ability, and other outcomes of the patients |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู่ใหญ่และผู้สูงอายุ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2566 |
metadata.dc.description.degree-name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2622 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NANCHACHAT CHOTTUNPHISAN.pdf | 1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.