Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2645
Title: | การเล่าเรื่องและการสะท้อน สังคมไทยในซีรีส์ชุด NOT ME ... เขาไม่ใช่ผม |
Other Titles: | Narration and reflection of Thai society through the series “NOT ME” |
Authors: | ปรัชนันทน์ จิรเดชสนธิวงศ์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค |
Keywords: | การเล่าเรื่อง;ภาพยนตร์ -- การเล่าเรื่อง;ภาพยนตร์ -- การผลิตและการกำกับรายการ;ภาพยนตร์ไทย -- แง่สังคม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์การเล่าเรื่องในซีรีส์ชุด Not Me…เขาไม่ใช่ผม และ 2) เพื่อวิเคราะห์การสะท้อนสังคมไทยในซีรีส์ชุด Not Me…เขาไม่ใช่ผม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้ระเบียบวิจัยแบบวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) โดยใช้แนวคิดการเล่าเรื่อง ทฤษฎีสัญญะวิทยา ทฤษฎีการประกอบสร้างความเป็นจริง และแนวคิดการสะท้อนสังคม โดยสิ่งที่นามาศึกษาได้แก่ซีรีส์ชุด Not Me…เขาไม่ใช่ผม จำนวน 14 ตอนซึ่งออกอากาศทางช่อง GMM 25 ในปี พ.ศ. 2564 ผลของการศึกษาพบว่าการเล่าเรื่องในซีรีส์ชุด Not Me…เขาไม่ใช่ผม ในแต่ละตอนมีโครงสร้างการเล่าเรื่องซึ่งประกอบด้วยโครงเรื่อง 5 ขั้นตอน คือการเริ่มเรื่อง การพัฒนาเหตุการณ์ภาวะวิกฤต ภาวะคลี่คลาย และการยุติเรื่องราว แก่นเรื่องมักเป็นแนวเดียวกันในทุกตอน มุมมองในการเล่าเรื่องมักมาจากบุคคลที่หนึ่ง ความขัดแย้งหลักในเรื่องมักเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างบุคคลและความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละคร ตัวละครในซีรีส์มีลักษณะหลากหลายมิติ ฉากมักเป็นสิ่งประดิษฐ์ และฉากที่เป็นการดำเนินชีวิตของตัวละคร ส่วนการใช้สัญลักษณ์ในเรื่องมักเป็นการใช้สัญลักษณ์ทางภาพ สำหรับการสะท้อนสังคมไทย ผลของการวิจัยพบว่าซีรีส์ชุด Not Me…เขาไม่ใช่ผม มักสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีต่าง ๆ (Social Problems and Technological Changes) ในสังคมไทย นอกจากนี้ ยังสะท้อนเรื่องความยากจน (Poverty) การว่างงาน (Unemployment) และความไร้ระเบียบวินัยของคนในสังคมไทยอีกด้วย (Lack of Discipline in Thai society) |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research aimed to: 1) analyze the narration of the series “Not Me” and 2) investigate how the TV series reflected Thai society. The research employed qualitative methodology, using textual analysis based on theories of narration, semiology, the social construction of reality, and social reflection. Data were 14 episodes of the series “Not Me” broadcast on GMM25 in 2021. The results revealed that each of the episodes had five stages of plot: exposition, rising, climax, falling action, and resolution. Each shared the same theme. Most of them used the first person narrative and embraced conflicts between characters and self-conflicts. In addition, multiple-dimensional characters were found in the series. Most of the scenes were invented and depicted how the characters lived their lives. In terms of semiology, visual semiology was found to play a significant role in the series. In terms of social reflection, the series was found to reflect social and technological changes in Thai society. In addition, the series presented poverty, unemployment, and lack of discipline in Thai society |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2566 |
metadata.dc.description.degree-name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2645 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CA-FTWD-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PRACHANAN JIRADEJSONTHIWONG.pdf | 2.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.