Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2654
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การแยกเพศโดยการใช้ซากกะโหลกศีรษะมนุษย์ส่วน Foramen magnum ในประชากรไทยที่มีภูมิลําเนาอาศัยอยู่ในภาคเหนือ |
Other Titles: | Sex identification from foramen magnum in Northern-Thai population ปฐมพงศ์ จันทิมา มหาวิทยาลัยรังสิต. สถาบันวิจัย 2564 |
Authors: | ปฐมพงศ์ จันทิมา |
Keywords: | เพศ -- การจำแนก -- ไทย (ภาคเหนือ);กะโหลกศีรษะ -- ไทย;เพศ -- แง่พันธุ์ศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | ภาคเหนือเป็นภูมิภาคมีความเสี่ยงต่อการเกิดดินโคลนถล่มและเกิดแผ่นดินไหว อาจทําให้เกิดการสูญหายและเสียชีวิตของบุคคล อีกทั้งเหตุการณ์ดังกล่าวยังทําให้ยากต่อการระบุตัวตนของผู้เสียชีวิต ในการระบุตัวตนของผู้เสียชีวิตนั้นจะต้องอาศัยข้อมูลเบื้องต้น เช่น เพศ อายุ ส่วนสูง ซึ่งการระบุตัวตนของผู้เสียชีวิตด้วย การแยกเพศนับว่าเป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่มีความสําคัญ ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะใช้วิธีการวัดจากซากโครงกระดูกที่ พบ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีง่ายไม่ซับซ้อนประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย และยังให้ความแม่นยําในการแยกเพศที่ ค่อนข้างสูง ในงานวิจัยครั้งนี้ทําการทดสอบความสามารถในการแยกเพศของซากกะโหลกศีรษะมนุษย์ส่วน foramen magnum จากกระดูกมนุษย์ของประชากรประเทศไทยที่มีภูมิลําเนาอยู่ภาคเหนือ จํานวนทั้งสิ้น 200 โครง แบ่งเป็น ชาย 100 โครง อายุอยู่ระหว่าง 22-94 ปี และเพศหญิงจํานวน 100 โครง อายุอยู่ระหว่าง 20-91 ปี โดยได้รับซากกะโหลกศีรษะมนุษย์ส่วน foramen magnum มาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทํา การวัด ทั้งสิ้น 5 ตัวแปร ได้แก่ foramen magnum length, foramen magnum breadth, occipital condyle length, occipital condyle breadth,minimum intercondylar distance Inul digital vernier caliper luns й โดยใช้สถิติ stepwise discriminant analysis 2 วิธี จากสถิติ univariate stepwise discriminant analysis วิเคราะห์ ความสามารถในการแยกเพศของตัวแปรแต่ละตัวแปรพบว่า ตัวแปรทั้งหมดมีความสามารถในการแยกเพศอยู่ ระหว่าง 59.0%-88.0% และจากสถิติ multivariate stepwise discriminant analysis เลือกตัวแปรที่ดีที่สุดเพื่อนํามา สร้างสมการในการแยกเพศ พบว่า สมการที่สร้างมีความสามารถในการแยกเพศอยู่ที่ 93.0% จากผลการศึกษา ครั้งนี้ทําให้ทราบถึงศักยภาพในการนําซากกะโหลกศีรษะมนุษย์ส่วน foramen magnum มาประยุกต์ใช้ในงาน ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์และมานุษยวิทยาเพื่อแยกเพศในกลุ่มประชากรไทยภาคเหนือได้ |
metadata.dc.description.other-abstract: | The northern part of Thailand is at risk for natural disaster may cause lost and died of person also such event making it difficult to identifying. Identity of the deceased will require basic information such as gender, age and height in which identifying. Identity of the deceased by sex identification considered as an important starting step which is usually used to measure from skeletal remains which is an easy way not complicated save time save money and still provide a high accuracy in sex identification. The aim of this research was to test of the ability to sex identification from foramen magnum in Northern-Thai population. A sample of 200 individuals (100 males and 100 females) of known age and sex, kindly supplied by Department of Anatomy, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Thailand, was examined. The age of the individuals ranged between 20-94 years old. Using 5 variables to measure by a digital vernier caliper. This study were analyzed by dicriminant function. Univariate measurements produced accuracy levels that ranged from 59.0% -88.0%. Classification accuracy ranged from 93.0% in the multivariate stepwise discriminant analysis. This study as a result make known the potential in bringing the foramen magnum applied in the field of forensic science and anthropology in order to sex identification in the northern Thai population |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2654 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Phy-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PATOMPONG CHANTIMA.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.