Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2742
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย แนวทางเพิ่มสมรรถนะด้านโลจิสติกส์ สำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย หลังจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Other Titles: Guidelines of improving logistic performance for Thai Auto-part manufacturing companies After the implementation of ASEAN Economic community (AEC)
Authors: ชนะเกียรติ สมานบุตร
มานะ เงินศรีสุข
Keywords: การบริหารงานโลจิสติกส์ -- กลุ่มประเทศอาเซียน;การบริหารงานผลิต -- วิจัย;ชิ้นส่วนยานยนต์ -- ไทย
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาวิจัย เรื่อง แนวทางเพิ่มสมรรถนะด้านโลจิสติกส์สําหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ของไทย หลังจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบของไทยได้มีความตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลังจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พร้อมทั้งทราบถึงแนวทางที่เหมาะสมและการปรับตัวเพื่อเร่งการ พัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ขององค์กร ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาด้านโลจิสติกส์ของภาครัฐ รวมทั้งกําหนดตัวชี้วัดสมรรถนะด้านโลจิสติกส์ (Logistic KPIs) ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย สามารถนําไปใช้เพื่อพัฒนางานโลจิสติกส์ได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือกลุ่ม บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย จํานวนทั้งสิ้น 15 บริษัท คือบริษัทสัญชาติไทย 5 บริษัท บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น 7 บริษัท และบริษัทสัญชาติอื่น 3 บริษัทการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับ ผู้บริหารของบริษัท โดยคําถามที่ใช้การสัมภาษณ์จะเป็นคําถามเกี่ยวกับแนวทางในทางปฏิบัติที่ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย จะสามารถสนับสนุนการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์หลัง การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไร โดยคําตอบที่ได้จากคําถามจะนําไปสู่ 1) แสดงถึง ผลกระทบของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) แนะนําแนวทางในการปรับปรุงการจัดการโลจิสติกส์สําหรับบริษัทของไทย ซึ่งแนวทางเหล่านี้จะ สอดคล้องกับแผนการพัฒนาของรัฐบาล 3) การกําหนดตัวชี้วัดสมรรถนะด้านโลจิสติกส์ของ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนําลําดับที่ 2 และลําดับ 3 คือผู้จัดหาวัตถุดิบทางอ้อม ให้กับบริษัทผู้ประกอบรถยนต์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสําคัญกับถามข้อที่ 1 คือ “ปัจจัยหลักในด้านใดบ้าง ที่จะช่วยให้บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ มีสมรรถนะด้านการจัดการโลจิสติกส์ (KPI) สูงขึ้น” ในด้านลักษณะองค์กร กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า มีการทํางานเป็นทีมมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มีการ กระจายอํานาจมากที่สุด โดยมีบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นให้ความสําคัญมากที่สุด ส่วนปัจจัยในด้านตัว ผู้บริหารและหลักการบริหารงาน กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า การกระจายเป้าหมาย KPI จากระดับ บนลงสู่ระดับล่าง มีความสําคัญมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ใช้ระบบการขนส่งแบบ Milk Run สําหรับคําถามข้อที่ 2 คือ “เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ตัวชี้วัดสมรรถนะ (KPI) ด้านโลจิสติกส์ใดบ้าง ที่ควรถูกให้ความสําคัญ” โดยคําถามด้านงานคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า KPI ได้แก่มูลค่าของวัตถุดิบและสินค้าในคลัง และต้นทุนดําเนินงาน คลังสินค้า ส่วนด้านการจัดส่ง ได้แก่ตรงเวลามากที่สุด ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ได้แก่ ต้นทุนการ จัดซื้อ และด้านการจัดการทั่วไป ได้แก่ จํานวนหลักสูตรอบรม สําหรับตัวชี้วัดสมรรถนะ (KPI) ด้านโลจิสติกส์ที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสําคัญเรียงตามลําดับความสําคัญใน 3 อันดับได้แก่ KPI การ จัดส่ง ด้านตรงเวลา KPI การจัดการทั่วไป ด้านจํานวนหลักสูตรอบรม และKPI การจัดการทั่วไป ด้านสมรรถนะการทํางานของพนักงาน
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this study were to investigate the Thai manufacturing companies have awareness of the effect to auto-part manufacturing after the implementation of AEC, study of guidelines of improving logistic performance and determining the appropriateness of the guidelines of logistics in line with the government sector, including the setting of the 'logistics KPIs of Thai auto-part manufacturers for developing the logistics. The samples of this study were these 15 auto-part manufacturing companies: 5 Thai companies, 7 Japanese companies, and 3 other companies. This study was a qualitative research by in-depth interviewing of the executive companies. The research question in this study was about what practices can support the development of logistic management in Thai auto-part manufacturing companies after the implementation of AEC. To respond the question, this study aims to contribute in various areas as the following. 1) Demonstrating the impact of AEC implementation on Thai auto-part manufac- turing companies. 2) Introducing guidelines of improving logistic management for Thai companies. These guidelines also align with government's developing plans. 3) Proposing logistic KPIs from leading auto-part manufacturing companies. Tier 2 and 3 companies can follow these practices. From the study, the manufacturers which were interviewed revealed that they have the most interest in the first question, "what are the main factors for helping the auto-part manufacturing companies need to have to increase the KPI logistics" in factor of organizational characteristics, the samples respond that it was the term- work, following with the centralization of management, which it was the most of Japanese companies. For the factor of leadership and management practices, the samples have the greatest opinion about the distribution of the target KPI from top-down approach, followed by the Milk Run transportation. From the second question, "when the implementation AEC, what logistic KPIs are the most important" in matter of the question of warehouse and inventory management, the samples opine that the KPI was the value of materials and goods in warehouse, and the cost of warehouse operation. For the term of delivery, most relevant was the delivery in time; In the matter of purchasing it was the cost of for the purchasing and for the general management it was the number of training courses. logistic KPI in which the samples were rated at 3 highest levels, such as the case: delivery KPI –delivery in time, the KPI management - number of training courses, and KPI management - the employee capacity in work
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2742
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:BA-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
CHANAKIAT SAMANBUTRA.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.