Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2746
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ความเชื่อมั่นต่อนโยบายติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อการควบคุมอาชญากรรมในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Confidence toward the policy on the implementation of CCTV system for controlling crime in Bangkok
Authors: จอมเดช ตรีเมฆ
Keywords: กล้องโทรทัศน์วงจรปิด;การรักษาความปลอดภัย -- กรุงเทพมหานคร;อาชญากรรม -- การป้องการและปราบปราม -- กรุงเทพมหานคร
Issue Date: 2557
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อสํารวจความเชื่อมั่น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครต่อนโยบายการใช้กล้องวงจรปิดเพื่อควบคุมอาชญากรรมของ กรุงเทพมหานคร เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างในระดับความเชื่อมั่นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครต่อนโยบายการใช้กล้องวงจรปิดเพื่อควบคุมอาชญากรรมของกรุงเทพมหานคร และ เพื่อเสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไขการดําเนินการตามนโยบายการใช้กล้องวงจรปิดของกรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จํานวนทั้งสิ้น 480 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอาศัย การทําการเก็บข้อมูล โดยให้ผู้ช่วยวิจัยดําเนินการแจกแบบสอบถามให้กับผู้พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ทํา การแจกแบบสอบถามให้กับผู้ที่มีที่อยู่ตามทะเบียนบ้านอยู่ในเขตตามขนาดตัวอย่างที่กําหนดไว้ ส่วนใน ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test โดยกําหนดเกณฑ์การวิเคราะห์ความมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่าความเชื่อมั่นต่อนโยบายติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อควบคุมอาชญากรรมของกรุงเทพมหานครมีความเชื่อมั่น อยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับปลานกลาง แต่มีความเชื่อมั่นในระดับน้อยทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ไม่เชื่อมั่นว่า กล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่ติดตั้งโดยกรุงเทพมหานครสามารถใช้งานได้ทุกตัว, ไม่เชื่อมั่นว่า กล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่ติดตั้งโดยกรุงเทพมหานครมีจํานวนมากเพียงพอ, ไม่เชื่อมั่นว่ามีจํานวน บุคลากรเพียงพอในการจับตาดูพฤติกรรมของผู้กระทําความผิดผ่านกล้องโทรทัศน์วงจรปิด, และไม่ เชื่อมั่นว่าจะมีการประสานงานอย่างทันท่วงทีระหว่างเจ้าหน้าที่ควบคุมกับเจ้าหน้าที่ตํารวจเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นในพื้นที่การควบคุม ส่วนผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความเชื่อมั่นต่อนโยบายการใช้กล้องวงจรปิดเพื่อควบคุมอาชญากรรมของกรุงเทพมหานครพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาการพักอาศัยในกรุงเทพมหานคร จะมีความเชื่อมั่นต่อนโยบายการใช้กล้องวงจรปิดเพื่อควบคุมอาชญากรรมของกรุงเทพมหานครแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนข้อเสนอแนะการวิจัยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้กรุงเทพมหานคร ควรที่จะใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่สามารถบันทึกภาพได้จริงในทุกจุดการติดตั้ง ควรเพิ่มจํานวนกล้องโทรทัศน์วงจรปิดมากขึ้น, ควรแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนในข้อมูลกําลังพลเกี่ยวกับการ ควบคุมดูแลกล้องโทรทัศน์วงจรปิด, ควรที่จะมีการสร้างห้องควบคุม (Control Room) ในทุกสํานักงาน เขตของกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต และควรจัดให้มีการอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ตํารวจถึงวิธี วิธีการในการ เฝ้ามองพฤติกรรมผู้กระทําความผิดผ่านกล้องโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อขอสนับสนุนกําลังเจ้าหน้าที่ตํารวจ จากสถานีตํารวจนครบาลในพื้นที่เพื่อประจําที่ห้องควบคุม ควบคู่ไปกับเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครอันจะส่งผลให้มีการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ตํารวจและเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครได้อย่างทันท่วงที หากมีเหตุด่วนเหตุร้ายเกิดขึ้น
metadata.dc.description.other-abstract: This quantitative research aims to 1) survey Bangkok Metropolitan residents about their confidence in the CCTV installation for crime prevention policy in the Bangkok Metropolitan area, 2) analyze confidence levels of Bangkok Metropolitan residents on the policy of CCTV installation for crime prevention in the Bangkok Metropolitan area, and 3) determine the cause of problems and offer guidance to solve problems created by the policy. The main research tool used in this research was a questionnaire created to survey Bangkok Metropolitan residents; the data was gathered by collecting details from the district office such as name and household registration from selected Bangkok Metropolitan districts. T-test, F-test, means, and standard deviation (S.D.) were calculated and the level of significance for the data analysis was .05. The results of this research are as follows. Overall, the level of confidence of the Bangkok Metropolitan residents had on the policy of CCTV installation for crime prevention in Bangkok Metropolitan area was at moderate level, but each item had 4 low confidence ratings, low confidence in the ability of the system to archive the CCTV footage, low confidence on whether the amount of CCTV cameras installed in each area was sufficient, low confidence in whether the amount of personal was sufficient enough to support the monitoring of criminal activities, and low confidence in the ability of the relevant personal and police officials to work together in each district. Regarding the analysis of the confidence levels of Bangkok Metropolitan residents on the policy of CCTV installation for crime prevention in the Bangkok Metropolitan area, the results show that personal factors such as age, educational level, career, salary and length of residency in the Bangkok Metropolitan area affected the confidence of Bangkok Metropolitan residents on the policy of CCTV installation for crime prevention in the Bangkok Metropolitan area. The statistical difference was .05. Regarding suggestions to improve the CCTV system, the results show that a system should be created to archive all of the CCTV video footage, there should be sufficient CCTV cameras installed in each district, there should be enough personal to monitor the cameras, a control room to monitor all 50 Bangkok Metropolitan districts should be built, police officials need training to monitor crime more effectively, and police officials should work more closely with Bangkok Metropolitan personal to monitor criminal activities.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2746
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:CSI-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JOMDET TRIMEK.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.