Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/296
Title: ความเหลื่อมล้ำทางด้านชีวิตดิจิทัลในประเทศไทย
Other Titles: Digital life inequality in Thailand
Authors: ฐิติมา ปานศรี
metadata.dc.contributor.advisor: เทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ
Keywords: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ;ความเหลื่อมล้ำ -- ไทย;เทคโนโลยีสารสนเทศ -- การศึกษาการใช้
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาดัชนีชีวิตดิจิทัลและความเหลื่อมล้าทางด้าน ชีวิตดิจิทัลของประชากรในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนช่วงปี พ.ศ. 2556 - 2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งคำนวณจากความแตกต่างของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตดิจิทัลของแต่ละปัจเจกบุคคลใน 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย รูปแบบพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต รูปแบบพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และรูปแบบพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารแบบเวลาจริง จากนั้นมาคำนวณหาค่าดัชนีจีนีแบบถ่วงน้าหนัก เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ความเหลื่อมล้าทางด้านชีวิตดิจิทัลในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ดัชนีชีวิตดิจิทัลของประชากรไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และดัชนีการสื่อสารแบบเวลาจริงมีดัชนีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ดัชนีคอมพิวเตอร์มีการใช้งานลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยมิติเมืองและชนบท คนในเมืองมีความเป็นชีวิตดิจิทัลมากกว่าคนชนบท ซึ่งในมิติภูมิภาคคนกรุงเทพมหานครมีความเป็นดิจิทัลสูงที่สุด ในขณะที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือมีชีวิตดิจิทัลใกล้เคียงกัน ทั้งนี้มิติจังหวัด คนกรุงเทพฯ ยังครองความเป็นชีวิตดิจิทัลอันดับ 1 ทั้ง 5 ปี ในขณะที่ปีล่าสุด พ.ศ. 2560 คนสกลนครมีชีวิตดิจิทัลน้อยที่สุดในประเทศ ด้านปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านชีวิตดิจิทัลของประชากรไทยยังคงมีกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ แต่แนวโน้มมีทิศทางที่ดีขึ้นโดยความเหลื่อมล้ำลดลงทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 - 2560 ในทุกมิติ โดยมิติปัจเจกบุคคลปี พ.ศ. 2556 ค่าดัชนีจีนีลดลงจาก 50.63 เหลือ 42.46 ใน พ.ศ. 2560 ด้านมิติเมืองมีความเหลื่อมล้าน้อยกว่าชนบททุกปีเช่นกัน อย่างไรก็ตามมิติภูมิภาค กรุงเทพมหานครมีความเหลื่อมล้าน้อยกว่าภูมิภาคอื่น โดยที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีความเหลื่อมล้้ำมากที่สุด และมิติจังหวัด แม่ฮ่องสอนมีความเหลื่อมล้ำ มากที่สุดอย่างต่อเนื่องในรอบ 5 ปี ทั้งนี้กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มีค่าความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - 2559 แต่ปีล่าสุด พ.ศ. 2560 จังหวัดภูเก็ตกลับเป็นจังหวัดที่มีค่าความเหลื่อมล้าน้อยที่สุดในประเทศ และกรุงเทพฯ ตกลงเป็นอันดับที่สองแทน
metadata.dc.description.other-abstract: This research aims to study the digital life index and digital life inequality of the population of Thailand using data obtained from a survey on household use of information technology and communication from 2013 – 2017 from the National Statistical Office. This digital life inequality was computed from the differences in digital life behavior of each individual in three respects: behavior in Internet use, behavior in the use of computer technology and behavior in real time communication. The weight gravitation Gini index was computed in order to analyze the digital life inequality in Thailand. The research found that digital life in Thailand has continued to get better, with a consistent increase in the Internet network use index and the real time communication use index while the computer use index continued to decline. In terms of the urban and the rural dimension, people in urban areas lead more digital life than people in rural areas. In the regional dimension, people in Bangkok have the highest digital life. The Central Part, the Northeast, the South and the North have come close in the use of digital life. In the provincial dimension, people in Bangkok came first in the use of digital life during those five years. Most recently, in 2017, people in Sakon Nakhon had the least digital life in the country. Digital life inequality in Thailand is scattered in all areas but each year, it tends to move in a better direction. From 2013 to 2017, inequality had reduced in all dimensions, in 2013, the Gini index reduced from 50.63 to 42.46. In 2017, inequality between the urban dimension and the rural dimension became less than in other years. However, in terms of the regional dimension, Bangkok was affected by less inequality than other regions. The Northeast was the region with the highest rate of inequality. In the provincial dimension, Mae Hong Sorn Province continued to have the highest rate of inequality in those five years. From 2015 – 2016, Bangkok had the least rate of inequality but, most recently in 2017, of all the provinces in the country, Phuket had the lowest inequality index and Bangkok came second.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐกิจดิจิทัล)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: เศรษฐกิจดิจิทัล
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/296
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EC-DE-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thitima Pansri.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.