Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/300
Title: ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลต่อสภาวะการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์
Other Titles: The effect of digital disruption on commercial bank employees’ performance
Authors: วารุณี ปืนฮวน
metadata.dc.contributor.advisor: วรรณกิตติ์ วรรณศิลป์
Keywords: เทคโนโลยีดิจิทัล;พนักงานธนาคาร -- การทำงาน;นวัตกรรมทางเทคโนโลยี -- การจัดการ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ โดยมุ่งเน้นศึกษาผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ความกังวลในความมั่นคงในหน้าที่การงาน ความสุขและความอิสระในการทำงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และความเชื่อมั่น ความไว้วางใจและความจงรักภักดีต่อองค์กร จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 430 คน ผลการวิเคราะห์ใช้ข้อมูลจากแบบสอบถามและโปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary Logistic Regression) พบว่าตัวแปรที่ส่งผลกระทบด้านประสิทธิภาพในการทำงาน ได้แก่ ความถี่ในการเปลี่ยนงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานะพนักงาน และที่ตั้งสาขาธนาคารที่สังกัด เมื่อพิจารณาตัวแปรที่ส่งผลกระทบด้านความกังวลในความมั่นคงในหน้าที่การงาน ได้แก่ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษาขั้นสูงสุดที่สำเร็จการศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัยที่จบการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนครั้งในการเข้าฝึกอบรมและสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลโดยเฉลี่ยต่อปีที่ธนาคารที่สังกัดให้การสนับสนุน นโยบาย National E-payment และการส่งเสริมสังคมไร้เงินสดของรัฐบาล และพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินของผู้ใช้บริการ ถัดมาเป็นตัวแปรที่ส่งผลกระทบด้านความสุขและความอิสระในการทำงาน ได้แก่ ประสบการณ์ทำงานในสายงานธนาคาร และนโยบายการลงทุนด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี (Technological Innovation) ของธนาคาร ส่วนตัวแปรที่ส่งผลกระทบด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ได้แก่ สาขาที่จบการศึกษาขั้นสูงสุด และที่ตั้งสาขาธนาคารที่สังกัด และจำนวนครั้งในการเข้าฝึกอบรมและสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลโดยเฉลี่ยต่อปีที่ธนาคารที่สังกัดให้การสนับสนุน และสุดท้ายตัวแปรที่ส่งผลกระทบด้านความเชื่อมั่น ความไว้วางใจและความจงรักภักดีต่อองค์กร ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และนโยบายการลงทุนด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี (Technological Innovation) ของธนาคาร
metadata.dc.description.other-abstract: The purpose of this research is to study the digital disruption factors affecting the performance of commercial bank employees with an emphasis on work capacity, job stability, happiness and freedom at work, relationship with colleagues, and loyalty to organization. The data were collected from 430 samples using questionnaires. From the data analysis using SPSS program to investigate the binary logistic regression, it was found that, firstly, the factors affecting the commercial bank employees’ work capacity included frequency of job hopping, average income per month, status of the employment, and location of the workplace. Secondly, the factors affecting the commercial bank employees’ job stability included marital status, highest level of education, university, average monthly income, the number of seminars attended, government’s policy on digital economy, and change in customers’ behaviors. Thirdly, the factors affecting the commercial bank employees’ happiness and freedom at work were working experience and company’s policy. Fourthly, the factors affecting the commercial bank employees’ relationships with colleagues were employees’ fields of study, location of workplace, and the number of seminars attended. Lastly, the factors affecting the commercial bank employees’ loyalty to organization included average monthly income and company’s policy
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐกิจดิจิทัล)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: เศรษฐกิจดิจิทัล
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/300
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EC-DE-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warunee Puenhuan.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.