Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/305
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รัชนี นามจันทรา, วารินทร์ บินโฮเซ็น | - |
dc.contributor.author | พรนภา วงศ์ธรรมดี | - |
dc.date.accessioned | 2022-01-14T08:50:51Z | - |
dc.date.available | 2022-01-14T08:50:51Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/305 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอายุรกรรม ด้านโครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ โดยใช้แนวคิดการประเมินคุณภาพบริการสุขภาพของ Donabedian (2005) เป็น กรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หน่วยงานอายุรกรรม จำนวนทั้งหมด 40 คน และเวชระเบียนของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่เข้ามารับการรักษาที่แผนกอายุรกรรม ระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึง กันยายน พ.ศ. 2561 จำนวน 91 รายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ในการประเมินและการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และแบบบันทึกกระบวนการดูแลและผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายผลการศึกษาคุณภาพการจัดการดูแลด้านโครงสร้างพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ในการประเมินและการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพการจัดการดูแลด้านกระบวนการพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการเจาะเลือดเพาะเชื้อ และไม่ได้รับยาปฏิชีวนะภายในระยะเวลา 60 นาที คุณภาพการจัดการดูแลด้านผลลัพธ์พบว่า หลังได้รับการรักษา 6 ชั่วโมง มีอัตราการเกิดภาวะช็อกร้อยละ 13.2 และอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 49.5 ผลการศึกษาแสดงถึงความจำเป็นในการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพในหน่วยงานอายุรกรรม ให้มีความรู้ในการประเมินและการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และพัฒนาระบบ การดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดให้มีคุณภาพต่อไป | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | เลือดติดเชื้อ -- การรักษา -- วิจัย | en_US |
dc.subject | เลือดติดเชื้อ -- การป้องกันและควบคุม | en_US |
dc.subject | ผู้ป่วย -- การดูแล | en_US |
dc.title | คุณภาพการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอายุรกรรม | en_US |
dc.title.alternative | Quality of care management for persons with sepsis in the medical department | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | This descriptive research aimed to study the quality of care management for persons with sepsis regarding structure, process, and outcomes at medical department. The Donabedian’s nursing quality assessment model was applied as a research framework. The samples included 40 medical registered nurses and 91 medical records of persons with sepsis admitted to the medical department during October 2017 – September 2018. The research instruments used for collectingdata from registered nurses included (Biographic) data record and knowledge in assessment and care management test for persons with sepsis. The research instruments used for collecting data from medical record were personal information sheet of persons with sepsis and the care processes and outcomes recording form. Data were analyzed using descriptive statistics The study of quality of care management for persons with sepsis on structural aspect revealed that knowledge in assessment and care management among medical registered nurses were at moderate levels. Quality of care management on process aspect were found that most of the patients did not receive hemoculture test and antibiotics within a period of 60 minutes. Quality of care management on outcome aspect found that after 6 hours of treatment, shock occurred 13.2% and death rate was 49.5%. The study reflects the need to improve the medical registered nurses’ knowledge in assessment and care management for persons with sepsis, and develop a system of quality care management for persons with sepsis. | en_US |
dc.description.degree-name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | การพยาบาลผู้ใหญ่ | en_US |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pornnapa Wongthamdee.pdf | 2.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.