Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/306
Title: | กลโกงการทำธุรกรรมทางการเงินในยุคดิจิทัล |
Other Titles: | Financial fraud in digital era |
Authors: | พิรุฬห์รัตน์ ศรีแจ่ม |
metadata.dc.contributor.advisor: | ธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช |
Keywords: | ธุรกรรมทางการเงิน;ธุรกรรมทางอิเล็กทริอนิกส์;อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลโกงการทําธุรกรรมทางการเงินในยุคดิจิทัล กลุ่ม ตัวอย่างคือประชาชนในจังหวัดสระบุรี จํานวน 745 คน เครื่องมือในการสํารวจโดยใช้แบบสอบถาม โดยศึกษาปัจจัยที่นําไปสู่การรับรู้กลโกงการทําธุรกรรมทางการเงินในยุคดิจิทัล รวมถึงปัจจัยด้าน การรับรู้ข้อมูลผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อกลโกงการทําธุรกรรมทางการเงินในยุคดิจิทัล ใช้สูตรการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (Analysis of Variance: ANOVA) พบว่าจากผู้ตอบ แบบสอบถามที่ร่วมมือในการตอบ มีความเสียหายโดยรวมต่อการสํารวจครั้งนี้โดยเฉลี่ยคือ 14,666.98 บาท ทั้งนี้พบว่าการหลอกลวงเกี่ยวกับการทําอาชีพเสริมออนไลน์มี ค่าเฉลี่ยในแง่มูลค่า มากที่สุด คือ 1,154.10 บาท รองลงมาคือการสั่งซื้อสินค้าทั้งแบบออนไลน์ หรือ แบบอื่น ๆ ที่ผู้สั่งซื้อ ไม่ได้รับของตรงตามที่โฆษณาไว้ หรือ มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ค่าเฉลี่ย 895.16 ลําดับที่ 3 คือการหลอกลวงเกี่ยวกับการถูกรางวัลออนไลน์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 814.26 จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่าตัวแปรอิสระลักษณะการใช้งานด้านระยะเวลาเฉลี่ย เครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ และ ประเภทรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีอิทธิพลต่อกลโกงการทําธุรกรรมทางการเงิน โดยมีค่า R Squared 324 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ .05 เนื่องจากปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในการดําเนินชีวิตคนในสังคมควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานการใช้เทคโนโลยี และรู้วิธีการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงในการใช้ บริการและการใช้เทคโนโลยีให้ปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงผู้ให้บริการ ควรคํานึงถึงความมั่นคง ปลอดภัยทางไซเบอร์ในโลกยุคปัจจุบัน ให้มีระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ดีเพียงพอ ซึ่งภัย คุกคามทางไซเบอร์เหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายแก่ตัวผู้ใช้งานได้แนวคิดเรื่องการรักษาความ มั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) จึงต้องถูกพัฒนาไปพร้อมกับความก้าวหน้าของระบบ เทคโนโลยี |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research was to investigate factors contributing to the perception of financial fraud in the digital era as well as factors related to the perception of information available on social media affecting fraud in financial transactions. The samples were 745 people living in Saraburi Province. The instrument was a questionnaire. Data were analyzed using the analysis of variance (ANOVA). The result revealed that the respondents experienced financial fraud with an average fraud loss of THB 14,666.98. Online job scams displayed the highest loss in terms of value, THB 1,154.10, followed by online sales in which customers settled the payment but did not receive their orders or online sellers dishonestly exaggerating product quality with an average loss of THB 895.16, and online prize winning with an average loss of THB 814.26. It was also found that three independent variables - average duration of online media use, social media types, and forms of information perception - affected online financial fraud with an R Squared of .324 and a statistical significance of .05 Due to a vital role of technology in our daily lives, people in the society should understand how to use technology and know how to avoid risks of using online services and technology. In addition, service providers should ensure the cyber security of their online systems since cyber threats can cause damage to users. Therefore, the concept of cyber security must be developed to |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐกิจดิจิทัล)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562 |
metadata.dc.description.degree-name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | เศรษฐกิจดิจิทัล |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/306 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EC-DE-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piroonrat Srijaem.pdf | 15.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.