Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/310
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจมาเที่ยวซํ้า และความยินดีแนะนำของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวมรดกทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดลพบุรี
Other Titles: Factors affecting the revisit intention and the willingness to recommend by Thai tourists towards the historical heritage sites in Lopburi Province
Authors: สุธิษา เชญชาญ
metadata.dc.contributor.advisor: อัมพล ชูสนุก
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ -- ไทย -- ลพบุรี;นักท่องเที่ยว -- การตัดสินใจ;ลพบุรี -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพลของคุณค่าที่รับรู้ด้านสุนทรียรส คุณค่าที่รับรู้เชิงประวัติศาสตร์ คุณค่าที่รับรู้ด้านสื่อสังคม และภาพลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวต่อการสร้างการจดจำความพึงพอใจ ความตั้งใจมาเที่ยวซ้า และความยินดีแนะนำของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวมรดกทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดลพบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวมรดกทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดลพบุรีจำนวนทั้งสิ้น 610 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบโควต้าใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ การหาค่าความถี่ การคำนวณค่าร้อยละ การคำนวณค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบจาลองสมการโครงสร้าง ผลการวิเคราะห์พบว่าแบบจาลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ค่า Chi-square = 491.658, df = 453, 2/df= 1.086, p–value = 0.102, GFI = 0.956, AGFI = 0.939 และRMSEA = 0.012 นอกจากนี้ยังพบว่า (1) คุณค่าที่รับรู้ด้านสุนทรียรสคุณค่าที่รับรู้เชิงประวัติศาสตร์คุณค่าที่รับรู้ด้านสื่อสังคมและภาพลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการสร้างการจดจำ (2) คุณค่าที่รับรู้ด้านสุนทรียรสคุณค่าที่รับรู้เชิงประวัติศาสตร์คุณค่าที่รับรู้ด้านสื่อสังคมภาพลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวและการสร้างการจดจำมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว (3) การสร้างการจดจำและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความตั้งใจมาเที่ยวซ้าและ (4) การสร้างการจดจำและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความยินดีแนะนำ
metadata.dc.description.other-abstract: The objective of this research is to develop a causal relationship model of the influence of perceived hedonic value, perceived historical value, perceived social media value and image of tourist destination on the memory creation, satisfaction, the intention to revisit, and the willingness of recommendation of the tourists visiting historical heritage sites in Lop Buri Province.This research was a quantitative research. The questionnaire was used to collect data from 610 tourists in Lop Buri province, which were selected by the quota sampling. The statistical analysis for this research were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and structural equation modelling analysis. It was found that the model was consistent with the empirical data. The chi-square = 491.658, df = 453, 2/df= 1.086, p-value = 0.102, GFI = 0.956, AGFI = 0.939 and RMSEA=0.012. It was also found that: (1) perceived hedonic value, perceived historical value, perceived social media value and destination image had a positive and direct influence on the memory creation; (2) perceived hedonic value, perceived historical value, perceived social media value, tourist destination image, and the memory creation had a positive and direct influence on tourist satisfaction; (3) the memory creation and the tourists satisfaction had a positive and direct influence on the revisit intention; and (4) the memory creation and the tourists satisfaction had a positive and direct influence on the willingness to recommend
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (บธ.ด. (บริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต 2563
metadata.dc.description.degree-name: บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: บริหารธุรกิจ
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/310
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:BA-BA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutisa Chenchan.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.