Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/370
Title: การพัฒนาสูตรตำรับแชมพูต้านเชื้อราสำหรับสุนัขจากสารสกัดเมล็ดชุมเห็ดไทย
Other Titles: Formulation development of canine antifungal shampoo from senna tora (l.) roxb. seed extract
Authors: ณฐวรรธน์ จันคณา
metadata.dc.contributor.advisor: ลักษณา เจริญใจ
Keywords: แชมพูสมุนไพร;ชุมเห็ดเทศ -- วิจัย;ผลิตภัณฑ์แชมพูสำหรับสุนัข -- การผลิต
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: เมล็ดชุมเห็ดไทย เป็นพืชสมุนไพรที่มีข้อบ่งใช้เป็นยาระบายและยาขับปัสสาวะตาม ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย และมีการนำมาใช้รักษาโรคกลากในคนตามภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้าน จากข้อมูลที่มีการรายงานแล้วพบว่า เมล็ดชุมเห็ดไทยประกอบด้วยสารกลุ่มแอนทราควิโนน ซึ่งแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราบางชนิดในพืชและเชื้อราก่อโรคกลากซึ่งพบในคนและสุนัข การศึกษานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีเตรียมสารสกัดเมล็ดชุมเห็ดไทย วิเคราะห์ปริมาณแอนทราควิโนน ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา และพัฒนาตำรับแชมพูต้านเชื้อราสำหรับสุนัข รวมถึงศึกษาความคงตัวของ แชมพู ผลการศึกษาพบว่าส่วนสกัดหยาบที่เตรียมจากการสกัดด้วย เอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 80 โดยใช้เครื่องละลายความถี่สูงได้ปริมาณสารสกัดมาก เมื่อนำมาแยกบริสุทธิ์บางส่วนด้วยเทคนิค คอลัมน์โครมาโตกราฟี ใช้ Sephadex LH-20 และเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 99 ได้สารสกัดที่มี ปริมาณแอนทราควิโนนรวมเพิ่มขึ้นเป็น 93 มก./กรัมของน้้ำหนักสารสกัดแห้ง เมื่อตรวจสอบส่วน สกัดหยาบด้วยเทคนิค TLC และสารสกัดที่แยกบริสุทธิ์บางส่วนด้วยเทคนิค HPLC พบแอนทรา ควิโนน 4 ชนิดคือ aloe-emodin, emodin, chrysophanol และ physcion และผลการวิเคราะห์ปริมาณด้วย HPLC พบปริมาณแอนทรา ควิโนน 2.68, 3.72, 33.15 และ 6.00 มก./กรัมของน้ำหนักสารสกัดแห้ง ตามลำดับ ผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราของส่วนสกัดหยาบโดยวิธี broth microdilution พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อ Trichophyton mentagrophytes, T. rubrum, Microsporum gypseum ได้ โดยมีค่า MIC 1,000 มคก./มล. สารสกัดเมล็ดชุมเห็ดไทยที่ผ่านการแยกบริสุทธ์ิบางส่วน สามารถยับยั้งเชื้อรา 3 ชนิดนี้ได้เพิ่มขึ้น โดยมีค่า MIC 125 มคก./มล. จึงนำสารสกัดนี้ไปเตรียมตำรับแชมพูโดยใส่ปริมาณร้อยละ 3 โดยน้้ำหนักของตำรับ และมี Sodium laureth sulfate เป็นสารชาำระล้างหลัก ผลการประเมินแชมพูผสมสารสกัดเมล็ดชุมเห็ดไทยพบว่า มีค่าความเป็นกรดด่างเฉลี่ย 6.77±0.02 และค่าความหนืด 1279±10 cP ลักษณะเป็นของเหลวสีน้้ำตาล ซึ่งมีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส แชมพูผสมสมุนไพร (มอก.เอส 12-2561) สำนักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผลการวิเคราะห์ปริมาณแอนทราควิโนนในแชมพู พบว่ามีปริมาณ เฉลี่ยของ aloe-emodin, emodin, chrysophanol และ physcion เท่ากับ 1.49±0.01, 2.42±0.01, 4.20±0.01 และ 2.89±0.01 มคก./มล. ตามลำดับ ผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา M. canis ด้วยวิธี agar well diffusion พบว่าแชมพูผสมสารสกัดเมล็ดชุมเห็ดไทย สามารถยับยั้งเชื้อได้ร้อยละ 76.27 เปรียบเทียบกับแชมพู 2% ketoconazole ที่จำหน่ายในท้องตลาด สามารถยับยั้งได้ร้อยละ 85.59 เมื่อทดสอบที่ปริมาณ 24 มก./well เท่ากัน ผลการทดสอบความคงสภาพของแชมพูด้วยวิธี heating and cooling acceleration พบว่าแชมพูมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น แต่ค่าความเป็นกรดด่างที่เปลี่ยนแปลง ไม่เกิน 1.0 ความหนืดของแชมพูมีค่าลดลงเช่นเดียวกับปริมาณแอนทราควิโนนที่ลดลง มีเพียง physcion ที่มีปริมาณไม่แตกต่างจากเริ่มต้น ประสิทธิภาพของแชมพูในการยับยั้งเชื้อรา M. canis มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เช่นเดียวกัน (ร้อยละของ การยับยั้งเชื้อรา 69.1 เปรียบเทียบกับ 76.3 เมื่อเวลาเริ่มต้น) ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาความคงสภาพ ในสภาวะแวดล้อมปกติที่ระยะเวลานานขึ้นและปรับปรุงคุณภาพของสารสกัดเมล็ดชุมเห็ดไทย
metadata.dc.description.other-abstract: Senna tora seeds are herbal medicine indicating as laxative and diuretic in Thai Herbal Pharmacopoeia. It has been used to treat the ringworm based on folk wisdom. Literature reviews had showed that S. tora seeds composed of anthraquinones which exhibited antifungal activity in plants and against dermatophytes that caused ringworm in human and dogs. Therefore, this study aimed to prepare S. tora seed extract and determined anthraquinone content. The extracts were tested antifungal activity and developed canine antifungal shampoo formulation including stability study of shampoo. The results showed that the crude extract was prepared by 80% ethanol using ultrasonication gave relatively high yield. Partial purification with column chromatography using Sephadex LH-20 and 99%ethanol resulted in the extract with high total anthraquinone content (93 mg/g dried extract). The crude extract was examined with TLC and the partial purified extract was analyzed with HPLC. HPLC analysis had identified 4 anthraquinones: aloe-emodin, emodin, chrysophanol and physcion. The anthraquinones contents were 2.68, 3.72, 33.15 and 6.00 mg/g dried extract, respectively. Antifungal activity of the crude extract was tested using broth microdilution assay against Trichophyton mentagrophytes, T. rebrum and Microsporum gypseum with MIC value of 1000 μg/mL. Partial purified extract of S. tora seed increased antifungal activity against these dermatophytes with MIC value of 125 μg/mL. Therefore, this extract was added as the active ingredient in canine antifungal shampoo for 3% w/w. Sodium laureth sulfate was used as a main detergent. Evaluation of S. tora seed shampoo showed that the average pH was 6.77+0.02 and the viscosity was 1279+10 cP, and brown liquid. The physical and chemical properties of shampoo were within the industry standard criteria of herbal shampoo (12-2561), Thai Industry Standard Institute (TISI). The average content of anthraquinones in shampoo formulation including aloe-emodin, emodin, chrysophanol and physcion were 1.49+0.01, 2.42+0.01, 4.20+0.01 and 2.89+0.01 μg/mL, respectively. Percent inhibition of S. tora seed shampoo by agar well diffusion method against M. canis was 76.27% compared with marketed 2%ketoconazole shampoo (85.59% when tested at the same amount (24 mg/well), The stability test using heating and cooling acceleration method showed that the acidity of shampoo was increased but the pH value was different less than 1.0. The viscosity of shampoo was decreased and so were the anthraquinone contents except physcion. Antifungal efficiency of shampoo against M. canis (%inhibition = 69.1%) was significantly decreased compared with the initial date (76.3%), p-value < 0.05. Consequently, stability study at normal condition and long term study are needed. The quality of S. tora seed extract needed to be improved.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม. (เภสัชศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: เภสัชศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/370
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Pha-Pharmacy-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natawat Chankana.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.