Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/414
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประสาน ตั้งยืนยงวัฒนา | - |
dc.contributor.author | นูรีซัน ยูโซะ | - |
dc.date.accessioned | 2022-01-21T08:48:35Z | - |
dc.date.available | 2022-01-21T08:48:35Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/414 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม (การแพทย์แผนตะวันออก)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562 | en_US |
dc.description.abstract | การอบสมุนไพรในศาสตร์การแพทย์แผนไทยได้รับการพิสูจน์ว่า มีประสิทธิผลในการรักษาโรคหอบหืด ซึ่งอาจช่วยในโรคทางเดินหายใจอื่นได้ด้วย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการอบสมุนไพรในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease, COPD) COPD การศึกษานี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Study) ในผู้ป่วย COPD กลุ่มทดลอง 30 คน ได้รับการอบสมุนไพรตำรับ (เหง้าไพลเหง้าขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ใบหนาด ผิวมะกรูด ใบมะกรูด ใบมะขาม ใบส้มป่อย ใบหนุมานประสานกาย ดอกปี บ ใบคนทีสอ การบูร) เป็นเวลา 30 นาที/วัน สัปดาห์ละ 3 ครั้ง จำนวน 12 ครั้ง และกลุ่มควบคุม 30 คน โดยทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการดูแลปกติจากแพทย์ วัดผลการอุดกั้นด้วย Peak Expiratory Flow Rate (PEFR) และคุณภาพชีวิตด้วย COPD Assessment Test (CAT) Score ก่อนและหลังการอบแต่ละครั้ง (ก่อนครั้งที่ 1 กับ หลังครั้งที่ 3, 6 , 9 และ 12 ) รวมทั้งอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่า PEFR และ CAT score ก่อน และ หลังด้วย Paired t-test และเปรียบเทียบค่าที่เปลี่ยนแปลงระหว่างสองกลุ่ม (Difference-in-Difference Analysis) ด้วย Unpaired t-test และงานวิจัยนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนของโรงพยาบาลปัตตานีแล้ว (IRB No. 004/2560) พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 75 ปี ร้อยละ 71 เป็นเพศชาย กลุ่มทดลองมีค่า PEFR เพิ่มขึ้นจาก 198.33 เป็น 259.67 ลิตร/นาที (p < 0.001) และค่า CAT Score ลดลงจาก 11.53 เป็น 6.33 คะแนน (p < 0.001) ในขณะที่ค่า PEFR และ CAT Score ของกลุ่มควบคุมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (PEFR ลดลง 5.67 ลิตร/ นาที, p > 0.05; CAT Score ลดลง 0.17 คะแนน p > 0.05) ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ (PEFR 67.00, p < 0.001; CAT Score 5.03, p < 0.001) อาการไม่พึงประสงค์ที่พบคือหายใจไม่อิ่ม จำนวน 2 ราย โดยสรุป การอบสมุนไพรช่วยลดการอุดกั้น และเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วย COPD ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง -- การรักษา | en_US |
dc.subject | สมุนไพร -- การใช้รักษา | en_US |
dc.subject | การอบสมุนไพร | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของการอบสมุนไพรในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) | en_US |
dc.title.alternative | The efficacy of herbal steam therapy in chronic obstructive pulmonary disease patients (COPD) | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | Herbal Steam Therapy (HST) in Thai traditional medicine have been shown to be effective in treating asthma. This may help with other respiratory diseases. The purpose of this study was to investigate the effectiveness and the safety of Herbal Steam Therapy for Chronic Obstructive Pulmonary Disease, COPD. A quasi-experimental was conducted in 30 patients with COPD. This group received HST for 30 minute/day, 3 times/week, 12 times (Formulary of HST: rhizome of Zingiber cassumunar and Curcuma longa; arial part of Cymbopogon citratus; leaf of Blumea balsamifera, Tamarindus indica, Acacia concinna, Schefflera leucantha, Vitex trifolia; Leaf and fruit shell of Citrus hystrix; flower of Millingtonia hortensis; and Camphor) and 30 control patients. Both groups treated regular care from physicians. Measurement of Peak Expiratory Flow Rate (PEFR) and COPD Assessment Test (CAT) score before and after treatment (before 1st and 3rd, 6th, 9th and 12th after) as well as adverse reactions. Data were analyzed by descriptive statistics, compare with PEFR and CAT score before and after with Paired t-test and the difference-in-difference analysis with unpaired t-test were compared. Furthermore, this project has been approved by the Human Research Ethics Committee of Pattani Hospital (IRB No. 004/2560). The subject were 75 years old in average, (71% male). The PEFR increased from 198.33 to 259.67 liters/minute (p < 0.001) and CAT score decreased from 11.53 to 6.33 score (p <0.001), while the PEFR and CAT score of the control group (PEFR decreased by 5.67 p > 0.05; CAT score decreased by 0.17 p > 0.05). There were significant differences between the two groups (PEFR 67.00, p < 0.001; CAT Score 5.03, p < 0.001). Only two short of breath patients were found as the adverse reaction. In conclusion, Herbal Steam Therapy (HST) can decreased obstruction of the respiratory tract and increased quality of life in COPD patients with no serious complications. | en_US |
dc.description.degree-name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | การแพทย์แผนตะวันออก | en_US |
Appears in Collections: | Ort-OM-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nurisun Yusoh.pdf | 1.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.