Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/415
Title: การพัฒนาสารสกัดชะเอมเทศในรูปแบบลิโพโซม
Other Titles: Development of glycyrrhiza glabra extract in liposome form
Authors: ขจีธัญชินี หนานิรันดร์กุล
metadata.dc.contributor.advisor: ประสาน ตั้งยืนยงวัฒนา
Keywords: ชะเอมเทศ (สมุนไพ) -- เภสัชฤทธิวิทยา;เภสัชกรรมเทคโนโลยี;สมุนไพร -- การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ -- วิจัย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ชะเอมเทศเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนของรากมีสารกลีเซอไรซินซึ่งเป็ นสารที่มีฤทธ์ิยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสทำให้ผิวขาว และลดการอักเสบ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสารสกัดชะเอมเทศในรูปแบบลิโพโซม (Liposome) ลิโพโซมจะถูกเตรียมด้วยวิธีฟิล์มไฮเดรชั่น โดยใช้ L-α Phosphatidyl choline, สารสกัดชะเอมเทศ และสารเพิ่มความคงตัว 2 ชนิด คือ คลอเรสเตอรอล และแกมมาโอไรซานอล ละลายด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ (Methanol : Dichloromethane) อัตราส่วน 2:1 จากนั้นระเหยตัวทำละลายออกและจะทำให้เกิดลิโพโซมโดยการเติม Phosphate buffer pH 7.0 ลงไป ทำการลดขนาดด้วยเครื่องอัลตราโซนิค จากนั้นทำการวัดขนาดอนุภาค และค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าซีต้า พบอัตราส่วนที่ดีที่สุดเมื่อเก็บตัวอย่างทิ้งไว้ 1 เดือน คือ L-α Phosphatidyl choline : คลอเรสเตอรอล: สารสกัดชะเอมเทศ (85 : 2.5: 1.5) และ L-α Phosphatidyl choline : แกมม่าโอไรซานอล: สารสกัดชะเอมเทศ (85 : 2.0: 1.5) เมื่อนำไปวัดขนาดอนุภาคได้เท่ากับ 183.23±23.98 และ 270.07±15.49 นาโนเมตร ตามลำดับ ส่วนค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าซีต้าได้ ค่า -7.85±0.45 และ -7.09±1.06 มิลลิโวลต์ ตามลำดับ ผลการทดสอบการปลดปล่อยผ่านด้วยวิธี Franz Diffusion Cells พบว่าค่าสัมประสิทธ์ิการปลดปล่อย (Flux) มีค่าเท่ากับ 202.15 ไมโครกรัม/นาที.ซม2. และ297.80 ไมโครกรัม/นาที.ซม2. เมื่อนำมาทดสอบการกักเก็บสารมีค่า เท่ากับร้อยละ 25.45 และ 50 ตามลำดับการวิเคราะห์หาปริมาณหาสารสกัดชะเอมเทศ ด้วยวิธี HPLC พบว่า ความสัมพันธ์เชิงเส้นของสารมีค่าสัมประสิทธ์ิ r2 เท่ากับ 0.9999 โดยมีความเข้มข้น 0.5- 4.0 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรความแม่นยำภายในวันเดียวกัน (Intraday Precision) มีค่าเฉลี่ย % RSD เท่ากับร้อยละ 0.09 และความแม่นยำระหว่างวัน (Interday Precision) มีค่าเฉลี่ย % RSD เท่ากับร้อยละ 0.18 ตามลำดับ
metadata.dc.description.other-abstract: Licorice or Glycyrrhiza glabra is widely used herbal medicinal plants. The root of this plant has glycyrrhizin which has anti-tyrosinase and anti-inflammatory activities. The purpose of this research was to develop licorice extract into liposome form. Liposome was prepared by film hydration method using L-α Phosphatidyl choline, licorice extract, and stabilizing agents which were cholesterol and gamma-oryzanol dissolved with organic solvent mixture (Methanol: Dichloromethane) in 2:1 ratio. The organic solvent was evaporated and phosphate buffer pH 7.0 was added into the mixture and the liposome was formed. The size of liposome was reduced by Ultrasonic probe. Next, the particle size and Zeta potential of liposome were measured and two good compositions were obtained. The compositions were L-α Phosphatidyl choline: cholesterol: licorice extract with the ratio of 85: 2.5: 1.5 and L-α Phosphatidyl choline: gamma-oryzanol: licorice extract with the ratio of 85: 2.0: 1.5. The particle size were 183.23±23.98 and 270.07±15.49 nm while the Zeta potential were -7.85±0.45 and -7.09±1.06 mV, respectively. Flux were equal to 202.15 and 297.80 microgram per cm2. square centimeter from Franz Diffusion Cell’s method. Liposomal reservations encapsulation efficiency was 25.45% and 50% respectively. Quantitative analysis of Glycyrrhiza glabra extract by HPLC showed correlation coefficient value (r2) equal to 0.9999 with the concentrations range from 0.5-4.0 microgram per milliliter. The %RSD of intraday and interday precision were 0.09 and 0.18%, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม (การแพทย์แผนตะวันออก)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การแพทย์แผนตะวันออก
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/415
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Ort-OM-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kageetunchinee Nanirankul.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.