Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/447
Title: บทบาทของนายหน้าต่อวิถีชีวิตของแรงงานข้ามชาติ: กรณีศึกษาชุมชนแรงงานเมียนมาในพื้นที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: The role of brokers in the way of life of transnational labours: a case study of Myanmar migrant community in tha Maka area, Kanchanaburi
Authors: ภัทร พีระพันธุ์ หินเมืองเก่า
metadata.dc.contributor.advisor: สังศิต พิริยะรังสรรค์, ปรีชา เปี่ยมพงศ์สาน
Keywords: แรงงานต่างด้าวพม่า -- กาญจนบุรี (ไทย);แรงงานข้ามชาติ -- พม่า.;การจ้างงานในต่างประเทศ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประเภทและบทบาทของนายหน้าต่อวิถี ชีวิต (การใช้ชีวิตและการทำงาน) ของแรงงานเมียนมาในชุมชนไวต้า อำเภอท่ามะกา จังหวัด กาญจนบุรี และ (2) ภาพรวมของสถานการณ์แรงงานเมียนมาในพื้นที่อำเภอท่ามะกา จังหวัด กาญจนบุรี ในปี พ.ศ. 2562 โดยเลือกใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งที่เป็นทางการ ทั้งข้อมูลภายในของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผลการวิจัยต่างๆ และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิด้วยวิธีการ สัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นแรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมา และนายหน้าทั้งแบบ ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมถึงกลุ่มผู้ให้ข้อมูลรอง อันประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จาก หน่วยงานของรัฐ และองค์กร ภาคประชาสังคม จากการศึกษาพบว่า แรงงานเมียนมาเป็นกลุ่มแรงงานที่มีความต้องการเฉพาะด้าน และมี ปัญหาด้านภาษาและการสื่อสารมาก โดยที่ในการใช้ชีวิตของแรงงานเมียนมาในประเทศไทยนั้น พวกเขาต้องประสบกับความเสี่ยงด้านต่างๆ อาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและนโยบาย การถูกเอารัดเอาเปรียบ การถูกจับกุม เป็นต้น ทำให้แรงงานเมียนมาเลือกที่จะใช้บริการนายหน้า ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาและทำให้วิถีชีวิตของพวกเขาในประเทศ ไทยมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บทบาทของนายหน้าที่พบในชุมชนไวต้า อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี มีความหมายกว้างขวางกว่าบทบาททั่วไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งส่วนหนึ่งเกิด จากลักษณะของความเป็นชุมชน ความเป็นเครือข่ายทางสังคม ตลอดจนถึงทุนทางสังคมที่ถูกสร้าง ขึ้นในพื้นที่แห่งนี้
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to 1) explore forms and roles of labor brokers in the way Myanmar workers live and work in Thailand and 2) to investigate Myanmar labor situations in 2019. The research emphasized Myanmar workers in Vita Migrant Community, Tha Maka District, Kanchanaburi Province, Thailand. Secondary data were information obtained from related organizations as well as related research, and primary data were collected from in-depth interview with key informants who were Myanmar workers and formal and informal brokers. Data were also collected from government organizations and civil society. The result revealed that Myanmar workers had special needs and communicative problems. Living and working in Thailand, they encountered a variety of risks, e.g. change in law and policy, exploitation, arrest, etc. Such risks led them to use a labor brokerage service. Brokers were found to play a vital role as they could help Myanmar workers solve problems and improve their living quality in Thailand. In addition, their role was found to mean more than what is defined and required by law. Such finding was partly caused by the community they lived in, their network, and social capital in the area.
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/447
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattara Peeraphun Hinmuangkow.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.