Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/491
Title: ประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ : ศึกษากรณีการตั้งครรภ์แทน
Other Titles: Legal issues concerning assisted reproductive technology : a case study on surrogacy arrangements
Authors: อนันต์ แตภิรมย์กุล
metadata.dc.contributor.advisor: วิชา มหาคุณ, ประสิทธิ์ เอกบุตร
Keywords: ครรภ์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ;เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์มนุษย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ;กฎหมายทางการแพทย์;พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาถึงบางประเด็นทางกฎหมายที่สำคัญเกี่ยวกับ สิทธิของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 ด้วยเหตุนี้หลักการประโยชน์สูงสุดของเด็กต้องถูกปกป้องโดยกฎหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องกระทำตามหน้าที่ของตนบนพื้นฐานของหลัก สุจริต (Good Faith Principle) วิธีการศึกษาโดยทำการค้นคว้าวิจัยเชิงเอกสารหสือการแพทย์ทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศจากเอกสารบทความวิชาการและหนังสือทางกฎหมายของไทยและต่างประเทศ จากวิทยานิพนธ์ จากระบบฐานข้อมูลในเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สรุปผลการวิจัยคือสิทธิของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนด้วยกลไกทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ควรเท่าเทียมกับสิทธิของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติดังนั้นการตั้งครรภ์แทน จึงหมายความว่าการตั้งครรภ์โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนมีข้อตกลงเป็นหนังสือไว้กับสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตามก่อนตั้งครรภ์นั้นให้เด็กที่เกิด้วยวิธีการดังกล่าวเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีและภริยานั้นและห้าม มิให้ผู้ใดดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเพี่อประโยชน์ทางการค้าหรือเพี่อแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ ส่วนสามีและภริยาที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทนและหญิงที่รับตั้งครรภ์ที่ฝ่าฝืน พระราชบัญญัตินี้ควรกำหนดบทยกเว้นความผิดไว้เพื่อหลักการประโยชน์สูงสุดของเด็ก
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to investigate legal issues related to the right of children born through assisted reproductive technology according to the Protection for Children Born through Assisted Reproductive Technology Act B.E. 2558 (2015). By means of this act, children are legally protected, and concerned people are required to perform their duties on the principle of good faith. The research applied document analysis. Data were collected from Thai and international medical textbooks, Thai and international legal documents, articles, and textbooks, dissertations, and information available on online databases. The result revealed that children born through assisted reproductive technology should be legally protected, having equal rights comparable to those born through natural conception. Assisted reproductive technology need surrogacy where a woman agrees to be a surrogate mother with or without written consent of the intended couple. The research recommended that a child born through an assisted reproductive technology be treated as a natural child of that couple not the woman pregnant for them. Pregnancy through assisted reproductive technology must not be aimed at benefiting the couple and the pregnant party. Punishment should be prescribed in the act for the protection of children’s rights.
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (น.ด. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563
metadata.dc.description.degree-name: นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิติศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/491
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Law-Law-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anan Tapiromkul.pdf4.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.