Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/493
Title: แนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการฟื้นฟูเยียวยาสิ่งแวดล้อมกับความรับผิดของผู้ก่อมลพิษในทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
Other Titles: Guidelines for improvement of environmental restoration and the liability of polluters in Thailand’s environmental law
Authors: วัชราภรณ์ จิตรชุ่ม
metadata.dc.contributor.advisor: ประสิทธิ์ เอกบุตร
Keywords: พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535;สิ่งแวดล้อม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ;สิ่งแวดล้อม -- การคุ้มครอง;นโยบายสิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา เรื่องการฟื้นฟูเยียวยาสิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไปกับความรับผิดที่ผู้ก่อมลพิษควรรับผิดชอบต่อผู้เสียหายและต่อสังคม โดยผู้เสียหายในคดีสิ่งแวดล้อม ควรได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสม สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ต้องรีบแก้ไข ไม่ว่าตัวผู้เสียหายเองหรือสิ่งแวดล้อม แต่ด้วยพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถที่จะแก้ไขเยียวยาผู้เสียหาย รวมถึงการแก้ไขฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการวิจัยเอกสารเป็นหลัก ซึ่งศึกษาจากตำรา บทความ รายงาน และวิจัยต่างๆ โดยเฉพาะศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่าขององค์การสหประชาชาติ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในระดับระหว่างประเทศ กฎเกณฑ์การฟื้นฟูเยียวยาสิ่งแวดล้อมประเทศสหรัฐอเมริกาออสเตรเลีย ฟินแลนด์ และ ญี่ปุ่น มาเป็นตัวอย่างในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ ผลการศึกษาพบว่ากฎหมายสิ่งแวดล้อมยังมีช่องว่างในเรื่องต่างๆ มากมาย ทั้งเรื่องการกำหนดค่าเสียหาย แนวทางปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรมในคดีสิ่งแวดล้อม อานาจของศาลในการพิพากษาหรือสั่งในคดีสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับบทลงโทษในทางแพ่ง ทางอาญา และมาตรการทางปกครองเพื่อให้ผู้กระทาผิดเกิดความเกรงกลัวและสานึกผิดด้วยการทาให้สิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไปกลับคืนมา ดังนั้น ดุษฎีนิพนธ์นี้จึงเห็นควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม แห่งชาติฯ โดยควรกาหนดให้ศาลมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าที่ปรากฏในคาฟ้องหรือคำขอบังคับเพื่อการกำหนดค่าเสียหายที่ผู้ก่อมลพิษต้องชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าความเสียหายที่แท้จริง การสั่งให้แก้ไขเยียวยาและการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป รวมทั้งแนวทางปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรมในคดีสิ่งแวดล้อมให้มีความสะดวกรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมและประเทศชาติโดยรวมต่อไป
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this thesis are to study the rehabilitation and compensation of the lost environment and the liabilities of the Polluters being liable to the injured persons and society. By which the injured persons in the environmental cases should receive proper, convenient, fast and fair compensation as the environmental problems must be hurriedly fixed either injured persons or the environment. However, the Promotion and Conservation of National Environmental Quality Act (No.2), B.E. 2561 (the Act) being currently enforced is unable to compensate the injured persons and rehabilitate the environment efficiently. This study is a qualitative research focusing mainly on documentary research by studying from textbook, article, report, and research specifically the comparative studies with the minimum standard rules of the United Nations, the International Environmental Development, the rules of rehabilitation and compensation of the environment of the United States, Australia, Finland and Japan being the examples for consideration of this Act to be adjusted. The result of the studies found that there are lots of gaps in several matters in the environmental law, i.e., the determination of cost for damages, guideline for justice proceedings in environmental cases, the Court’s power for rendering the judgment or ordering in the environment cases in conjunction with both civil and criminal penalties and administrative measurement for the offenders to be afraid of and remorseful with the responsibility for bringing back the lost environment. Therefore, this thesis is of the opinion that the Act should be adjusted by way of defining the Court’s power for making judgment or ordering excess the lawsuit or the request to define the real costs of damages which have to be responsible by the Polluters or ordering for remedy and rehabilitation of the lost natural resource including the guidelines for the fast and convenient justice proceedings in environmental cases being for the benefit of the justice proceedings and the entire Nation accordingly
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (น.ด. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563
metadata.dc.description.degree-name: นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิติศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/493
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Law-Law-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vatcharaporn Jitchoom.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.