Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/504
Title: | การศึกษาและผลิตสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อรณรงค์การลดขยะพลาสติกภายใต้แนวคิดการแปรใช้ใหม่ |
Other Titles: | 3D animation design to promote plastic recycling |
Authors: | ธนพร งามจิตร |
metadata.dc.contributor.advisor: | กฤษดา เกิดดี |
Keywords: | การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์;แอนิเมชั่น -- การผลิต -- วิจัย;ภาพยนตร์สามมิติ -- การออกแบบ -- วิจัย;ขยะ -- การนำกลับมาใช้ใหม่ -- วิจัย |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์การลดขยะพลาสติกโดยใช้หลักการแปรใช้ใหม่ (Recycle) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการแก้ปัญหาแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยลดปัญหาภาวะขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต การแปรใช้ใหม่เป็นหลักการที่สามารถเริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง เพียงใช้วัสดุใกล้ตัวเปลี่ยนขยะพลาสติกกลายเป็นของมีประโยชน์ได้อีกครั้ง ซึ่งสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ ความยาวประมาณ 3 นาที จัดทาขึ้นเพื่อให้กลุ่มผู้ชมอายุตั้งแต่ 6-15 ปี สามารถนาไปปรับใช้ในการเรียนและกิจกรรมได้ โดยมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับสองพี่น้องประดิษฐ์ของเล่นจากขยะพลาสติกมาเล่นกัน แต่พี่ชายเผลอเล่นกับน้องสาวรุนแรงเกินทำให้เสื้อเธอฉีกขาด โชคดีที่ในชุมชนมีโครงการประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ (D.I.Y Waste to Goods) พี่ชายจึงคิดเปลี่ยนขยะพลาสติกในชุมชนให้กลายเป็นของขวัญแก่น้องสาวเพื่อไถ่โทษที่ตนเองทำผิด เรื่องราวน่ารักระหว่างความสัมพันธ์พี่น้อง และขยะพลาสติกจึงเกิดขึ้น โดยขั้นตอนงานวิจัยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ผ่านการวิเคราะห์ และสังเคราะห์กลายมาเป็นภาพยนตร์สั้นที่เน้นใช้ตัวละครวัยเด็ก กับขยะพลาสติกเป็นตัวดำเนินเรื่องโดยใช้ภาพและเสียงประกอบเล่าเรื่องแทนการใช้บทพูด ทำให้ทุกชนชาติเข้าใจเนื้อหาอีกทั้งผลงานวิจัยเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์สามารถเผยแพร่สู่สากลได้ |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objective of the study was to design a 3D animation to promote plastic recycling which is a key priority to reduce plastic waste on the basis of circular economy aimed at optimizing the usability of materials. Circular economy is a key solution for the depletion of natural resources in the future. An individual can simply recycle waste by oneself, turning a used plastic material into a useful product. This 3-minute 3D animation created mainly as a learning support for the audience aged 6 – 15 years depicted a story of two siblings who invented their toys from plastic waste; however, the brother played with his sister so roughly that he made her t-shirt torn. Fortunately, in their town, there was a project named D.I.Y. Waste to Goods. The brother then decided to turn plastic waste available in the town into a gift for her to redeem himself after his mistake. The story reflected love and relationship between the sibling and plastic waste reduction. The research was conducted based on the analysis and synthesis of information and data collected from different sources. The main characters were children as protagonists along with plastic waste presented through graphics. The animation used a narrative voice instead of dialogues. Furthermore, this animation was released online so that all audience groups could understand the animation content. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม. (คอมพิวเตอร์อาร์ต)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศิลปมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | คอมพิวเตอร์อาร์ต |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/504 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | DIA- ComArt-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tanaporn Ngamjit.pdf | 2.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.