Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/534
Title: การพัฒนาชุดทดลองฟิสิกส์ เรื่อง แรงเสียดทาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: Development of a physics experimental set on friction for grade 10 students
Authors: ศิวกร กตัญญูนุสรณ์
metadata.dc.contributor.advisor: ศรีสมร พุ่มสะอาด
Keywords: ฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา);วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา);แรงเสียดทาน -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา);ฟิสิกส์ -- การทดลอง -- วิจัย
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดทดลองเรื่อง แรงเสียดทาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดทดลองเรื่องแรงเสียดทานกับเกณฑ์ระดับผลการเรียนของโรงเรียนที่กาหนดคือ ร้อยละ 70 ดำเนินการตาม 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาชุดทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนฟิสิกส์จำนวน 3 คน และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 1 ฉบับ และแบบสอบถาม 1 ฉบับ 2) พัฒนาชุดทดลอง 3) นำชุดทดลองไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ จำนวนนักเรียน 40 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ (2) ชุดทดลองเรื่อง แรงเสียดทาน (3) คู่มือและใบกิจกรรมการทดลองเรื่อง แรงเสียดทาน (4) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้หลังเรียนเรื่อง แรงเสียดทาน และเก็บข้อมูลโดยผู้วิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ 4) ปรับปรุงพัฒนาชุดทดลอง โดยนำปัญหาและข้อบกพร่องจากการใช้งานจริงมาปรับปรุงแก้ไขชุดทดลอง ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้ชุดทดลองเรื่อง แรงเสียดทาน มีลักษณะคงทนใช้งานง่าย 2)ประสิทธิภาพของชุดทดลองเรื่อง แรงเสียดทาน E1/E2 เท่ากับ 92.00/84.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80 และ 3) ผลการเรียนรู้หลังเรียนของนักเรียนทุกคนที่เรียนโดยใช้ชุดทดลอง สูงกว่าเกณฑ์ระดับผลการเรียนของโรงเรียน ร้อยละ 70
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this study were 1) to develop experimental set and get 80/80 of efficiency and 2) to compare learning outcomes of the students in a group of using friction experimental set with 70 percent of school’s criteria for learning assessment. Research methodologies were conducted in four steps. 1) Basic information and requirements for friction experimental set were studied by using an interview and a questionnaire. The sample groups were three Physics teachers and 40 of grade 10 students in Science and Mathematics program. 2) The experimental set was developed and tested the scientific efficiency by finding the error value. 3) The experimental set was implemented in Physics classroom. The sample group were 40 grade 10 students in Science and Mathematics program. The research instruments were 1) lesson plans, 2) the Physics experimental set on friction, 3) an experimental manual and experimental recorded sheet, and 4) the post-test. 4) The experimental set was developed based on problems found. The findings were 1) the experimental set on friction was used effectively in class, 2) the efficiency of the experimental set on friction was 92.00/84.00, higher than 80/80, and 3) students’ learning outcomes were higher than 70% which was the school’s criteria for learning assessment.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563
metadata.dc.description.degree-name: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/534
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-CI-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siwakorn Katanyunusorn.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.