Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/580
Title: | การพัฒนาครีมนวดแก้อักเสบจากนํ้ามันที่กลั่นได้จากเหง้ากระทือ |
Other Titles: | Development of anti-inflammation cream from Zingiber Zerumbet smith rhizomes oil distillation |
Authors: | ธนศวรรณ ยิ่งยง |
metadata.dc.contributor.advisor: | ประสาน ตั้งยืนยงวัฒนา |
Keywords: | กระทือ -- เภสัชฤทธิวิทยา;น้ำมันหอมระเหย -- กระทือ -- วิจัย;สารต้านการอักเสบ -- จากพืช;การพัฒนาผลิตภัณฑ์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้ทำการกลั่นกระทือสดจากจังหวัดราชบุรี ด้วยวิธีการกลั่นด้วยไอน้ำ(hydrodistillation) โดยใช้ Clevenger apparatus ที่ช่วยแยกน้ำมันออกจากน้ำ พบว่าได้น้ำมันกระทือจำนวน 1.22±0.24 มิลลิลิตรต่อกระทือสด 150 กรัม คิดเป็นร้อยละ 0.81 (v/w) จากนั้นน้ำมันมาวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีโดยฉีดเข้าเครื่อง GC-MS พบสารสำคัญหลัก 6 ชนิด คือ (1S)-Camphene, o-Cymene, 2- Bornanone, Humulene, Camphene, และ Zerumbone โ ด ย พ บ ส า ร Zerumboneมากที่สุดถึงร้อยละ 43.44สารที่วิเคราะห์ได้สอดคล้องการสารที่พบในกระทือที่รายงานในวารสาร จากนั้นนำน้ำมันที่ได้มาเตรียมให้อยู่ในรูปแบบครีม โดยในขั้นต้นจะทำการพัฒนาสูตรครี มพื้น 5 สู ตร โดยมีสาร NIKKOMULESS LC เป็ นสารก่ออิมัลชัน พบว่าสูตรที่ใช้NIKKOMULESS LC ร้อยละ 5 มีความคงตัวดีกว่าสูตรที่ใช้ NIKKOMULESS LC ร้อยละ 3 โดยครีมที่ได้ไม่แยกชั้นหลังการเตรียม โดยสูตรที่ 3 มีความสวยของเนื้อครีม มีลักษณะนิ่ม ดูดซึมเข้าสู่ผิวได้ง่ายกว่าสูตรที่ 4 และ 5 ส่วนหนึ่งเกิดจากปริมาณของของ Cetostearyl alcohol ที่เป็นสารเพิ่มความแข็งของเนื้อครีม ซึ่งในสูตรที่ 4 และ 5 มีมากกว่าสูตรที่ 3 จึงทำให้เนื้อแข็งกว่าเมื่อทำการผสมน้ำมันกระทือที่ได้จากการกลั่นลงไปในสูตรครีมที่ 3 โดยใช้ปริมาณน้ำมันร้อยละ 1, 3 และ 5 ตามลำดับ พบว่าปริมาณน้ำมันร้อยละ 1 ให้ครีมที่มีสีขาวมันวาว มีความนุ่มของเนื้อครีม และดูดซึม เข้าสู่ผิวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสูตรที่สามารถนำไปพัฒนาต่อไปเป็นครีมต้านการอักเสบ |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research studied the hydrodistillation of fresh Zingiber zerumbet rhizomes from Ratchaburi province using Clevenger apparatus to collect oil. From the experiment, 1.22±0.24 mL or 0.81%(v/w) of oil was obtained from the distillation of 150 g of fresh rhizomes. Then, the oil was analyzed by GC-MS, and it was found that there were 6 main compounds consisting of (1S)-Camphene, o-Cymene, 2-Bornanone, Humulene, Camphene, and Zerumbone. Zerumbone was the major compound (43.44%) of the oil which correlated to the previous reported. The oil was prepared in the form of cream form developed from 5 formulas of cream base with NIKKOMULESS LC as emulsifier. According to the results, the formula using NIKKOMULESS LC5% was more stable than those that used NIKKOMULESS LC3%. Among NIKKOMULESS LC 5%, formula 3 gave the best cream texture with smooth sense and was easily absorbed into the skin. Formula 4 and 5 had more amounts of cetostearyl alcohol that was thickening agent and made the cream harder than formula 3. When the Z. zerumbet oil was added into the formula 3 for 1%, 3% and 5% (w/w), 1% of oil preparation gave a white shining color with smooth texture and easy absorption through the skin. In conclusion, this formula can be further developed to an antiinflammatory cream |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การแพทย์แผนตะวันออก)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 |
metadata.dc.description.degree-name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การแพทย์แผนตะวันออก |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/580 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Ort-OM-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanasawan Yingyong.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.