Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/584
Title: การยอมรับลิบราเป็นสกุลเงินดิจิทัลสำหรับคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย
Other Titles: An adoption of libra as a digital currency for the new generation in Thailand
Authors: อนันต์ ลิ่มสกุล
metadata.dc.contributor.advisor: ธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช
Keywords: โลจิสติกส์ทางธุรกิจ -- ไทย;การเงิน -- การจัดการ -- ไทย;สกุลเงิน
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การยอมรับลิบราเป็นสกุลเงินดิจิทัลสำหรับคนรุ่นใหม่ในประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยความรู้ความเข้าใจที่มีต่อการยอมรับสกุลเงินลิบรา เก็บข้อมูลด้วยวิธี Accidental Sampling Selection แบบออนไลน์จำนวน 1,230 ราย ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Binary Logistic Regression พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม ไม่ยอมรับสกุลเงินลิบรา มีร้อยละ 56.3 และยอมรับสกุลเงิน ลิบรา มีร้อยละ 43.7 มีตัวแปรอิสระ 4 ตัว คือ เพศ อายุ สื่อสังคมออนไลน์ และคะแนนความรู้ สามารถอธิบายตัวแปรตามได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สามารถพยากรณ์ตัวแบบได้ ถูกต้องร้อยละ 65.24 ซึ่งมากกว่าการใช้ตัวแปรอิสระทุกตัว ที่สามารถพยากรณ์ได้เพียงร้อยละ 60 หน่วยงานภาครัฐ ควรทำการสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชน ทำให้หน่วยงานภาครัฐ จะต้องมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ การรับรู้ประโยชน์ของสกุลเงินลิบรา ทำให้ประชาชน ทั่วไปสามารถค้าขาย โอนเงิน และกู้ยืมในอัตราค่าธรรมเนียมที่ถูกลง ในขณะที่มีความสะดวกใน การใช้งานและไม่ต้องเดินทางไปที่สาขาธนาคาร สามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอปพลิเคชันที่ ใช้อย่ใูนชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้นการออกกฎระเบียบควรป้องกันผู้บริโภค เพื่อมิให้ถูกหลอกลวงหรือเป็นเหยื่อจากการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ และในการศึกษาครัqงถัดไป ควรศึกษาเกี่ยวกับการทำธุรกรรมธุรกิจทางการเงินที่สามารถสร้างรายได้ในการประกอบอาชีพ เช่น ค้าขายออนไลน์ การท่องเที่ยว และการลงทุนเป็นต้น
metadata.dc.description.other-abstract: The objective of this study was to explore fators related to public understanding and acceptance of Libra currency. Data were collected from 1,230 samples by using the online accidental sampling selection method. Hypothesis testing was conducted using binary logistic regression. The result revealed that 56.3% of the respondents did not accept Libra while 43.7% of them accepted it as a digital currency. Five independent variables including social media, age, occupation, saving, and knowledge scores, could significantly explain the dependent values with a significance level of 0.05 and could be predictors with 76.4% accuracy higher than all independent variables with 76.2% accuracy. Government organizations should promote public knowledge and understanding of the benefits of the currency through information channels to encourage trading, transfer, and loan transactions with low interest rates among the public. In addition, knowing and understanding the currency and its online applications, they would find online financial transactions easier and more convenient. In addition, there should be regulations that could prevent financial deception and investment frauds. Further studies were recommended to investigate profitable financial transactions in different businesses, e.g. online sales, tourism, investment, etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ประยุกต์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563
metadata.dc.description.degree-name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: เศรษฐศาสตร์ประยุกต์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/584
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EC-AE-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anun Limsakul.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.