Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/608
Title: | รูปแบบการเสริมสร้างความเป็นนวัตกรสาหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย |
Other Titles: | Innovatorship enhancement model for undergraduate programs of private universities in Thailand |
Authors: | ปิยนันต์ คล้ายจันทร์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ประทุมทอง ไตรรัตน์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเอกชน -- ไทย -- หลักสูตร;นวัตกรรมทางการศึกษา;การศึกษา -- การบริหาร -- หลักสูตร |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดความเป็นนวัตกรและวิธี การเสริมสร้างนวัตกรของมหาวิทยาลัยเอกชน 2) ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์การเสริมสร้างความเป็นนวัตกรสำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย และ 3) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเป็นนวัตกรสำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ มหาวิทยาลัยเอกชน 2 แห่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัย ตามพันธกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรการผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสายสังคมศาสตร์ โดยอยู่ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ได้แก่ รองอธิการบดี คณบดี รองคณบดี และอาจารย์ผู้สอนจำนวน 10 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินรูปแบบ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษา พบว่า กรอบแนวคิดการเสริมสร้างความเป็นนวัตกรสำหรับหลักสูตรระดับปริญาตรีของมหาวิทยาลัยเอกชนได้เป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) การเสริมสร้างความเป็นนวัตกรประกอบด้วย การบริหารงานวิชาการ และแนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมและการเสริมสร้างนวัตกรรม 2)ความเป็นนวัตกร ประกอบด้วย กระบวนการคิดเชิงออกแบบ และทักษะที่จะควานหาและค้นพบความคิดสร้างสรรค์ สำหรับชื่อรูปแบบ “การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาเป้าหมายและกระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นนวัตกร” ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย การพัฒนาเป้าหมายความเป็นนวัตกร 2) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย กระบวนการเสริมสร้างความเป็นนวัตกร และ 3) ด้านผลผลิต ประกอบด้วย สมรรถนะความเป็นนวัตกร |
metadata.dc.description.other-abstract: | The research objectives were 1) to study the conceptual framework of innovatorship promotion model in the production of graduates of private universities; 2) to study the desirable condition of innovatorship promotion for private university's undergraduate programs in Thailand; and 3) to develop an innovatorship promotion model in the production of graduates of private universities in Thailand. A qualitative research is conducted using in-depth interviews from key informants. The samples used in this research were 2 private universities under the Higher Education Commission, categorized into the university group which focuses on producing graduates and researching according to the main mission of private higher education institutions, and the universities located in Nonthaburi and Pathum Thani provinces offers undergraduate programs in science, technology, and social sciences. The participants consisted of 10 university administrators, namely vice president, dean, deputy dean and instructors. The tools used for data collection in this research were conceptual framework assessment, interview form and the model evaluation form. The data were analyzed using frequency, percentage determination and content analysis. The results of the study showed that the concept of innovatorship promotion model in the production of graduates of private universities was divided into 2 areas including 1) innovatorship promotion model in the production of graduates consisting of academic administration and concepts about innovation, and 2) innovation consisting of design thinking process and skills to find and discover creativity. The name of the model is “Academic Management for Developing Goals and Processes for Innovatorship Competency Enhancement: AMDGPICE”, consisting of 3 components comprising 1) Input factors including innovatorship goals, 2) Process consists of innovatorship process and 3) Productivity consisting of innovatorship competency |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด. (การศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การศึกษา |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/608 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-ES-D-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyanun Klaichun.pdf | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.