Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/618
Title: | มายาคติและความหมายเรื่องพืชกัญชาในสังคมไทย |
Other Titles: | Myth and meaning of Cannabis in Thai society |
Authors: | สานิตย์ แสงขาม |
metadata.dc.contributor.advisor: | ฉัตรวรัญช์ องคสิงห |
Keywords: | มายาคติ;กัญชา -- การใช้ประโยชน์;วาทกรรม |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | ดุษฏีนิพนธ์เรื่อง มายาคติและความหมายเรื่องพืชกัญชาในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) มายาคติของคนในสังคมไทยที่มีต่อกัญชา 2) การใช้ประโยชน์จากกัญชา และความหมายของคำว่า พืชกัญชาในสังคมไทย 3) สิทธิในการเข้าถึงกัญชา เพื่อใช้เป็นยารักษาโรคด้วยตนเองหรือ สิทธิ ตามธรรมชาติ และ 4) การต่อสู้ เรียกร้อง และการเคลื่อนไหวทางสังคมในมิติด้านกัญชา แนวคิดทฤษฏีที่ใช้เป็นแนวทางศึกษา ประกอบด้วย ทฤษฎีมายาคติ แนวทางการศึกษาเชิงสัญญะวิทยา ทฤษฏีขบวนการทางสังคมใหม่ ทฤษฏีภาวะผู้นา แนวคิดเรื่องอานาจ แนวคิดเรื่องสิทธิตามธรรมชาติ และแนวคิดเรื่องการต่อสู้ เรียกร้อง และการเคลื่อนไหวทางสังคม งานวิจัยนี้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า 1) มายาคติของสังคมไทยต่อกัญชา ถูกสร้างจากสองทาง คือ ศาสตร์ความรู้ตะวันตกที่ผ่านการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ ทาให้ตารับยา บทบาทของหมอพื้นบ้านหายไปจากสังคมไทย และอีกทางคือกฎหมายของรัฐมีการสร้างวาทกรรม กัญชาในมิติของการสื่อถึงแนวคิดที่ผูกติดอยู่กับคุณค่าทางสังคม เป็นความดี ความชั่ว ความโหดเหี้ยม ต้นเหตุของการก่ออาชญากรรมจนเกิดเป็น “มายาคติ” 2) การใช้ประโยชน์จากกัญชา และการให้ความหมายของพืชกัญชาในสังคมไทย องค์ความรู้แบบตะวันตกที่มีผลต่อการจัดระบบการจัดการศึกษา ได้สร้างมายาคติการใช้ประโยชน์จากกัญชาที่ต้องเรียกร้องงานวิจัยทดลองแบบวิทยาศาสตร์ ตำรับยาดั้งเดิมและองค์ความรู้แบบแพทย์พื้นบ้านถูกกลบด้วยชุดมายาคติแบบแผนการศึกษาตามตะวันตก 3) คนไทย มีสิทธิเข้าถึงพืชกัญชานี้ได้ และเมื่อต้องดื้อแพ่งกับกฎหมายจึงต่อสู้ เรียกร้อง และการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในมิติด้านกัญชา กระบวนการสำคัญอยู่ที่การตัดสินใจและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเพื่อกาหนดนโยบาย 4) การเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่เรื่องกัญชา สร้างและจรรโลงประชาธิปไตย สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำให้ช่วยเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองที่สร้างการเปลี่ยนแปลงอานาจรัฐได้ |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of the research on myth and meaning of cannabis in Thai society were 1)to study the myth of cannabis in Thai society, 2)to study the utilization of cannabis and the meaning of cannabis in Thai society, 3)to study the right to access cannabis for self healing process and the natural rights, and 4)to study the fight, the claim, and the social movement in relation to cannabis.The theoretical concepts used in the study include a theory of myth, a guideline of semiology, New Social Movement NSM, a theory of leadership, a concept of power, a concept of natural rights, claims, and social movements. The study was qualitative research. And, the in depth interviews and a focus group method are used for this research instruments.The results are as follows:1) The myth of cannabis in Thai society was created by two directions which were Western knowledge from medical schools affecting the drug formulas and the role of folk healers disappeared from Thai society. Another direction was the law with a disclosure. Cannabis also has been enacted with the social value which include good or bad deeds, cruelty, and the causes of crime, leading to the creation of “Myth”. 2) The utilization of cannabis, the meaning of cannabis in Thai society, and Western knowledge affecting an educational management system created the myth for the use of cannabis which requires scientific research experiments, traditional medicine, and folk medicine knowledge which were drowned out by myth and Western educational plans. 3) Thai citizens should have had the right to access cannabis plant. However, when the mentioned idea was considered against the law, it led to the fight, the claim, the new social movement in relation to cannabis, The crucial process was from the decision making and participation of Thai citizens in contributing to policymaking.4)The new social movement on cannabis created and sustained democracy onwards. The participation of the citizens can affect social and political changes which goes beyond the changes of the powers of government. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/618 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sanit Sangkham.pdf | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.