Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/634
Title: | พัฒนาการกีฬาและนวัตกรรมนโยบายสาธารณะของจังหวัดบุรีรัมย์ |
Other Titles: | The development of sports and the innovation of public policy of Buriram Province |
Authors: | ณ กาล ธนชิต |
metadata.dc.contributor.advisor: | จอมเดช ตรีเมฆ |
Keywords: | นโยบายสาธารณะ -- บุรีรัมย์;กีฬา -- บุรีรัมย์;การท่องเที่ยวเชิงกีฬา -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | พัฒนาการกีฬาและนวัตกรรมนโยบายสาธารณะของจังหวัดบุรีรัมย์ คือเรื่องราวของนโยบายการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) ที่มีที่มาจากพัฒนาการกีฬาในอดีต นโยบายการท่องเที่ยวเชิงกีฬามีจุดกำเนิดในปี ค.ศ.1971 เติบโตในประเทศไทย เมื่อมีการก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในปี ค.ศ.2002 (พ.ศ.2545) และการเป็นกระแสนิยมโลกในปี ค.ศ.2010 (พ.ศ.2553) นโยบายการท่องเที่ยวเชิงกีฬา มีสาระสำคัญว่ากีฬาคือ การเสริมสร้างสุขภาวะ การก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของเมือง สร้างมูลค่าให้กับระบบเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงกีฬา คือ การสร้างผลกำไรตอบแทน และพัฒนาไปสู่นวัตกรรมนโยบายสาธารณะหรือบุรีรัมย์โมเดล การท่องเที่ยวเชิงกีฬา ทำให้จังหวัดบุรีรัมย์เปลี่ยนจากเมืองผ่าน สู่ เมืองท่องเที่ยว เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเล่นกีฬา มาชมการแข่งขันกีฬา ต้องมาใช้บริการ โรงแรม ร้านอาหาร รวมถึงการกระจายรายได้สู่ภาคธุรกิจ และการบริการอื่นๆ ในพื้นที่ ทำให้จังหวัดบุรีรัมย์กลายเป็นจังหวัดที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจสูงสุด ติดลำดับหนึ่งในห้าของประเทศ ดุษฎีนิพนธ์เรื่องพัฒนาการกีฬาและนวัตกรรมนโยบายสาธารณะของจังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและความเป็นมาของการท่องเที่ยวเชิงกีฬา 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมนโยบายสาธารณะกับนโยบายการท่องเที่ยวเชิงกีฬา 3) เพื่อศึกษานโยบายการท่องเที่ยวเชิงกีฬากับประโยชน์ ด้านสุขภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมือง การท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth-Interview) จำนวน 12 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลจาก หนังสือ เอกสาร และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายการท่องเที่ยวเชิงกีฬามีความเป็นมาจากแนวคิดพัฒนาการกีฬาในอดีต 2) นโยบายการท่องเที่ยวเชิงกีฬา คือนวัตกรรมที่ส่งผลต่อ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ระบบเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและ วัฒนธรรม ของประเทศ 3) นโยบายการท่องเที่ยวเชิงกีฬาทำให้เกิดการก่อตัวของเมืองกีฬา (บุรีรัมย์โมเดล) บทสรุป เมืองกีฬา (Sports City) หรือ “บุรีรัมย์โมเดล” เป็นนวัตกรรมนโยบายสาธารณะ ในการใช้กีฬาสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับจังหวัดและระดับประเทศ |
metadata.dc.description.other-abstract: | The development of sports and the innovation of public policy of Buriram province refer to a story of sports tourism policy based on the past development of sports. The sports tourism policy originated in 1971 and developed in Thailand when the Ministry of Tourism and Sports was established in 2002; moreover, its global trend grew in 2010. In terms of the sports tourism policy, sports are used to promote well-being; to cause a change in the city’s infrastructure; and to create value for the economy, tourism and culture. Sports tourism was the creation of profits and contributed to innovative public policy or Buriram Model. Sports tourism caused Buriram to shift from a city by which tourists passed to a tourist city. Sports tourism, furthermore, increased the number of tourists coming to play sports, watching sports games and using services of hotels and restaurants, as well as distributed income to the business sector and other services in the areas in Buriram province. Buriram became the province with the most prosperous economy, ranked in the top five provinces in Thailand. The objectives of the dissertation, entitled “The Development of Sports and the Innovation of Public Policy of Buriram Province”, were 1) to study the concept and background of sports tourism, 2) to study the innovation of public policy and the sports tourism policy, and 3) to study the sports tourism policy and benefits regarding health, urban infrastructure development, tourism, economy and culture. The study was conducted using qualitative research method with in-depth interview of 12 informants and gathering information from books, documents and information from the Internet. The results were as follows: 1) The sports tourism policy was based on the past concept of sports development. 2) The sports tourism policy referred to the innovation affecting exercise for health, development of urban infrastructure, economy, tourism and culture of the country. 3) The sports tourism policy contributed to the formation of sports cities (Buriram Model). To conclude, sports city or “Buriram Model” was an innovative public policy in which sports were used to create sustainable development in order to drive the economy at the provincial and national levels. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/634 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nakarn Thanachit.pdf | 5.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.