Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/679
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorติน ปรัชญพฤทธิ์-
dc.contributor.authorอัตถกร ธรรมศิริ-
dc.date.accessioned2022-03-01T02:58:20Z-
dc.date.available2022-03-01T02:58:20Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/679-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมและรูปแบบ ของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต 2. ศึกษา ระดับการมีส่วนร่วมต่อการป้องกันอาชญากรรมภายในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต และ 3. หาแนวทางการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน หมู่บ้านเมืองเอก ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี นักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 400 คน การศึกษาวิจัยเป็นแบบผสาน วิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมและรูปแบบของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น ในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต โดยด้านปัจจัยที่ก่อให้เกิด อาชญากรรม 3 อันดับแรก ได้แก่ มีทางเข้า-ออกหลายทางเปิดโอกาสให้ผู้ก่อเหตุหลบหนีได้ง่าย มี พื้นที่รกร้างขาดการดูแลเอาใจใส่ และในพื้นที่ส่วนกลางไม่มีกล้องวงจรปิด ส่วนรูปแบบของ อาชญากรรมที่เกิดขึ้นนั้น ได้แก่ จี้ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ และปล้นทรัพย์ 2. ระดับการมีส่วนร่วมในการ ป้องกันอาชญากรรมในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตพบว่าทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติ และด้านการติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง 3. แนวทางการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ควร ให้หน่วยงานต่างๆที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ตั้งแต่หน่วยงานของรัฐ เช่น สถานีตำรวจภูธรปากคลอง รังสิต เทศบาลตำบลหลักหก ร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ประกอบการหอพักในพื้นที่ตลอดจนผู้นำ ชุมชนและผู้อยู่อาศัยในชุมชน เพื่อวางแผนป้องกันอาชญากรรมตลอดจนการปฏิบัติงานในพื้นที่ ร่วมกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันอาชญากรรม ต่อผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านเมืองเอก ซึ่งจะ ส่งผลให้อาชญากรรมในหมู่บ้านเมืองเอกลดลงในที่สุดen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectอาชญากรรม -- การมีส่วนร่วมของประชาชนen_US
dc.subjectการป้องกันอาชญากรรม -- การมีส่วนร่วมของประชาชนen_US
dc.titleแนวทางการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนรอบสถาบันการศึกษากรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.title.alternativeApproaches towards crime prevention in the vicinity of educational institute : a case study of Rangsit Universityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe purposes of this study are 1) to investigate the factors and patterns of the crimes in the vicinity of the educational institute in the case study of Rangsit University, 2) to study the participation rate in preventing the crimes, and 3) to identify the approaches for preventing the crimes. The population and samples are the people living in Muang Eak Village, Lak Hok Sub-District, Mueang District, Pathum Thani Province, students and personnel of the university. The purposive sampling was used for sampling the 400 samples. The research method is the mixed method including the quantitative research and qualitative research methods. The findings are as follows. Firstly, the first three factors of the crimes were the fact that there were many entrances allowing criminals to escape easily, the abandoned areas, and the common areas without close-circuit television cameras. The patterns of the crimes were hijacking, robbery and thievery. Secondly, the participation rates in the three aspects: planning, practices, and follow-up and evaluation were at the moderate levels. Thirdly, the crime prevention guidelines are that organizations (e.g. public organizations including Pak Klong Rangsit Police Station, Lak Hok Municipality and Rangsit University), local entrepreneurs, community leaders and members should have responsibilities on making crime prevention plans in order to promote safety and improve the trusts of the people living in Mueang Eak Village in the police officers and responsible organizations preventing the crimes.en_US
dc.description.degree-nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineรัฐประศาสนศาสตร์en_US
Appears in Collections:PAI-PA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atthakorn Dhammasiri.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.