Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/694
Title: ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ที่มีผลต่อการเกิดอาชญากรรมในประเทศไทย
Other Titles: The effects of beliefs in heaven and hell on crime rates in Thailand
Authors: ศศิวิมล เต็มเจริญกิจ
metadata.dc.contributor.advisor: จอมเดช ตรีเมฆ
Keywords: ความเชื่อ -- วิจัย -- ไทย;อาชญากรรม -- ความเชื่อ;ความเชื่อ -- แง่ศาสนา
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ความเชื่อเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมมาอย่างยาวนาน ความเชื่อถือได้ว่าเป็นพลังอย่างหนึ่ง ที่สร้างสรรค์ เป็นแรงที่ส่งเสริมให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นทางจิตใจ หรือเป็นแรงผลักดันให้กระทำบาง สิ่งบางอย่างได้อย่างมีความหวัง ดังเช่นหลักความเชื่อทางศาสนาที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของ มนุษย์ โดยมีหลักคำสอนเป็นเป้ าหมายสูงสุด ให้มนุษย์ที่มีความเชื่อหรือศรัทธาในศาสนาเหล่านั้น ได้นำหลักคำสอนไปประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิต แต่ในทางกลับกัน ความเชื่อก็มีผลกระทบ หากเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดการหลงผิด การกระทำที่ขาดการใช้เหตุผล และการ แสดงออกที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ความเชื่อจึงกลายเป็นทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นอยู่กับความ เชื่อนั้นมีความถูกต้องในการปฏิบัติตามหรือไม่ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาพุทธมากที่สุด ในทางหลักศาสนา พุทธมีความเชื่อในเรื่องนรก-สวรรค์ การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่ยังมีอัตราการเกิดอาชญากรรม ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ ทำให้เกิดสมมติฐานว่าหากคนเราสามารถ เข้าถึงหรือเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามแบบหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา หรือมีความเชื่อเรื่อง นรก-สวรรค์ บาป-บุญ ในเบื้องลึกของจิตใจแล้ว อัตราการเกิดอาชญากรรมจะมีแนวโน้มลดลงได้ หรือไม่ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ที่มีผลต่อการเกิดอาชญากรรม ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงความเชื่อทางด้านศาสนาในเรื่องนรก-สวรรค์ มี ผลต่อการกระทำความผิดมากหรือน้อยเพียงใด 2) เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยมาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อ พัฒนาปรับปรุงแนวทางรูปแบบการฟื้ นฟูพฤตินิสัยของผู้กระทำผิด และ 3) เพื่อเสนอแนะแนว ทางการป้ องกันการเกิดเหตุอาชญากรรมในอนาคต มีวิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่ง ทำการเก็บข้อมูลทั้งหมด 22 คน ผลจากการศึกษาพบว่าความเชื่อทางด้านศาสนาในเรื่องนรก-สวรรค์และโลกหลังความ ตายนั้น ไม่มีผลต่อการกระทำความผิดในส่วนก่อนที่ผู้ต้องขังจะได้เข้ามาให้เรือนจำ แต่ความเชื่อ ทางด้านศาสนาในเรื่องนรก-สวรรค์และโลกหลังความตาย จะมีผลไปถึงการประพฤติและปฏิบัติตน หลังจากที่ผู้ต้องขังในเรือนจำได้รับการอบรมฟื้นฟูจิตใจโดยศาสนาซึ่งมีผลต่อการฟื้นฟูพฤตินิสัย ของผู้ต้องขังในเรือนจำ และควรจะต้องพัฒนา ปรับปรุงรูปแบบการลงทัณฑ์ในประเทศไทยที่ยังคง ยึดถือในเรื่องความเชื่อในเรื่องการอภัย หรือการลดหย่อนโทษ (ความดี) ทำให้ผู้ต้องขังไม่สามารถ สำนึก ในการกระทำทั้งก่อนและหลังการกระทำได้อย่างแท้จริง ทำให้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการลง ทัณฑ์อาจจะไม่เกิดประสิทธิภาพ
metadata.dc.description.other-abstract: Together with the human society, beliefs play an important role to the social evolution. The power of hope makes people to motivation and decision with their behavior, most of that usually comes in the term of religion. The established principle because religious behave on a moral manner which create the fine society. On the other hand, misunderstanding, unreasoning or inappropriate beliefs might result in the recessional situation or the social admitted. So, it can be both advantages and disadvantage depend on integrity of that. In Thailand, Buddhist is the religion of the nation which believe on heaven and hell, or sins and virtues as a core principle in the hope to control the moral standard. However, crime rates seem to be high and increasing every year. At this point of views, as a source of hypothesis in controlling crime rates with a moral religion principle can cause the decreasing of the number or not? The objective of this research about to examine the effect of beliefs in crime rates in Thailand consisted of: 1) to study the effect of belief in crime rates 2) to analyze for the schema of behavior rehabilitation’s improvement in offenders 3) to search for the prevention of further crime, collected by in-depth interview for 22 persons. According to research, It can be seen that beliefs in heaven and hell has no effect to criminal offences before jail but affect to behavioral after join the moral training session. Furthermore, we should have penalty adjustment, focusing on forgiveness’s pattern in form of moderation which is the threat of repentance in offenders, result in inefficiency of penalty process
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/694
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CJA-CJA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasiwimon Temcharoenkit.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.