Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/702
Title: แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษาในพื้นที่ ตำบลเพชรละคร อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์
Other Titles: The guidelines for preventing and resolving children and juvenile recidivism problems : the case study of Phet lakhon Sub District, Nong Phai District, Phetchabun Province
Authors: ภัทร์ชมน ชื่นสำนวล
metadata.dc.contributor.advisor: ศุภกร ปุญญฤทธิ์
Keywords: กระบวนการยุติธรรม;ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน -- ไทย -- เพชรบูรณ์ -- วิจัย;การกระทำผิดซ้ำ -- ไทย -- เพชรบูรณ์
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเรื่องแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษาในพื้นที่ ตำบลเพชรละคร อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาการทะเลาะวิวาทและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการกระทำความผิดซำ้ของเด็กและเยาวชน: กรณีศึกษาในพื้นที่ ตำบลเพชรละคร อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ และเพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีทางอาชญาวิทยาที่เกี่ยวข้องรวมถึงแนวทางการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน การวิจัยมีสองกลุ่มประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญคือ เยาวชนที่กระทาผิดซ้ำ จานวน 5 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างหลัก กลุ่มการปกครองท้องถิ่น จานวน 5 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างรอง ทำการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและทำการสัมภาษณ์ เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษาในพื้นที่ ตำบลเพชรละคร อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์พบว่า 1) ปัจจัยทางด้านการคบเพื่อน 2) ปัจจัยทางด้านครอบครัว 3) ปัจจัยด้านการเลียนแบบ 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม 5) ปัจจัยด้านการควบคุมตัวเองและแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้าของเด็กและเยาวชน พบว่า 1) ควรมีการส่งเสริมกิจกรรมชุมชน 2) มีการประสานงานในกลุ่มผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่ให้ช่วยกันดูแลกลุ่มเด็กและเยาวชน 3) การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสอดส่อง 4) ฝึกอบรมปลูกฝังคุณธรรม 5) ส่งเสริมในการสร้างความตระหนักถึงความเสียหาย 6) ส่งเสริมให้ความรู้กับครอบครัวมีโรงเรียนพ่อแม่ให้ความรู้ในการอบรมเลี้ยงดู 7) จัดการร่วมกับทางชุมชนนำเด็กและเยาชนที่เป็นหัวโจกหรือกลุ่มที่กระทำผิดซ้ามาละลายพฤติกรรม 8) อบรมบุคลากรในรูปแบบการให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย 9) จัดให้มีศูนย์อำนวยการไกล่เกลี่ยอย่างชัดเจน 10) ส่งเสริมฝึกให้เด็กและเยาวชนมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจทางด้านศาสนา 11) ส่งเสริมการใช้สื่อ โทรทัศน์ วีดีโอให้ความรู้เรื่องกฎหมายและกฎระเบียบ 12) ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนเพื่อจัดการปัญหาภายในชุมชนของตำบล
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this study were to investigate the quarrel conditions and the factors causing children and juvenile recidivism under the case study of Phet Lakhon Sub-district, Nong Phai District, Phetchabun Province, to study related concepts and theories of criminology, to study the guidelines of using restorative justice in preventing and resolving children and juvenile recidivism problems and to propose the suggestions in preventing and resolving children and juvenile recidivism problems. There were two sample groups. Firstly, key informants were five recidivist children and juvenile as a primary sample. Secondly, a secondary sample was five officers in local administrative organizations. The sample was selected based on a purposive sampling. In-depth interview was used to ask for information from key informants. Data were analyzed through content analysis. The results of this study indicated that factors causing children and juvenile recidivism under the case study of Phet Lakhon Sub-district, Nong Phai District, Phetchabun Province were 1) friend association, 2) family, 3) imitation, 4) environment, 5) Self-control. The guidelines for preventing and resolving children and juvenile recidivism problems were 1) community activities should be promoted, 2) coordination among each village headman group to jointly care children and juvenile should be promoted, 3) the community participation should be promoted for surveillance, 4) moral practices should be cultivated, 5) awareness of damage should be raised, 6) family should be educated and parents should be promoted to learn about parenting, 7) the community should participate in break the ice activities for recidivist children and juvenile, 8) personnel should be trained for enhancing their legal knowledge, 9) A mediation center should be established clearly, 10) children and juvenile should be promoted to hold religious and spiritual anchor, 11) television, video, and media should be promoted to provide knowledge about laws and regulations, and 12) A community justice center should be established to resolve the community problem.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/702
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CJA-CJA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patchamon Chuensamnuan.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.