Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/745
Title: ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติจากหลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลบุคคลที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
Other Titles: Effectiveness of evidence-based practice guideline for persons undergoing total knee arthroplasty
Authors: ณัฐกฤต สว่างเนตร
metadata.dc.contributor.advisor: วารินทร์ บินโฮเซ็น, นํ้าอ้อย ภักดีวงศ์
Keywords: ข้อเข่าเทียม -- การรักษา -- วิจัย;การดูแลภายหลังศัลยกรรม;ศัลยกรรม -- การดูแลภายหลัง -- วิจัย;ข้อเข่าเทียม -- ศัลยกรรม -- วิจัย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ 1 กลุ่ม ศึกษาติดตามไปข้างหน้า (Prospective Intervention Study) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติจากหลักฐานเชิงประจักษ์ในการ ดูแลบุคคลที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โดยใช้แนวคิด The Nursing Role Effectiveness Model ของ Irvine และคณะ (1998) เป็นกรอบในการวิจัย โดยกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยผู้ป่วยทั้งเพศหญิงและชายที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำนวน 20 คน และ พยาบาลประจำหอผู้ป่ วย ศัลยกรรมกระดูกและข้อ จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่ วยจะได้รับ การดูแลตามแนวปฏิบัติฯ จากพยาบาลที่ได้รับการอบรม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล คะแนนความปวด พิสัยการงอข้อเข่า ระยะวันนอน โรงพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่ วยและพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิง บรรยาย และ One sample t-test ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติฯมีผลต่อความปวดโดยคะแนนเฉลี่ยความปวดต่ำกว่า 3 คะแนน ทั้งในระยะ 24, 48 และ 72 ชั่วโมง (2.31, 2.42, และ 2.07 ตามลำดับ) พิสัยการงอข้อเข่าใน วันก่อนจำหน่ายเฉลี่ยมากกว่า 100 องศา ระยะวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 6.55 วันซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ 9 วัน และความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และความพึงพอใจของ พยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05
metadata.dc.description.other-abstract: This one group prospective intervention study aimed to investigate the effectiveness of evidence-based practice guideline for caring persons undergoing total knee arthroplasty, The nursing role effectiveness model of Irvine, et.al (1998) was used as a conceptual framework. The purposive sample were 20 men and women who admitted for total knee arthroplasty and of 13 professional nurses were recruited in this study. The evidence-based practice guideline for caring persons undergoing total knee arthroplasty was employed by trained professional nurses. Data were collected by using the recording form of demographic, pain score, range of knee motion, length of stay, and patients and nurses’ satisfaction questionnaire. Descriptive statistics and One Sample t-test were used for data analysis. The findings revealed that evidence-based practice guideline had effect on score of pain less than 3 during 24, 48, and 72 hours post operation (2.31, 2.42, and 2.07 respectively), range of knee motion (more than 100 degree on day of discharge), length of stay (mean score 6.55 days , less than 9 days). Moreover patients and nurses satisfaction score were significant statistically higher than 80% (p < .05). Evidence-based practice guideline for caring persons undergoing total knee arthroplasty was recommended for further use to improve quality of nursing care.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/745
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nutthakrit Swangnade.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.