Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/769
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศรีสมร พุ่มสะอาด | - |
dc.contributor.author | ติณณา อภิวันทนาพร | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-03T01:38:58Z | - |
dc.date.available | 2022-03-03T01:38:58Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/769 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และ3) เปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูผู้สอนตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4, 5 และ 6 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3 โรงเรียน จำนวน 14 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3 โรงเรียน จำนวน 290 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ2) แบบสอบถามสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบสอบถามทั้ง 2 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบให้เลือกตอบ เติมคำในช่องว่าง และแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 สำหรับแบบสอบถามของนักเรียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามและรับคืนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4, 5 และ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเรื่อง การสืบค้นรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การสร้างชิ้นงานหรือโครงงาน และการนำเสนองานอยู่ในระดับมาก ทั้งในด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การใช้สื่อ/อุปกรณ์การจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) ครูผู้สอนและนักเรียนส่วนมากมีปัญหาด้านความพร้อมในการใช้งานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องชำรุดและทา งานได้ช้ามากที่สุด และนักเรียนมีพื้นฐานต่างกัน สำหรับแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อแก้ปัญหา ได้แก่ การปรับปรุงแก้ไขคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การจัดสอนซ่อมเสริม และการให้นักเรียนลงมือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำ เสมอ และ3) นักเรียนมีความคิดเห็นว่าการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนทั้ง 3 ชั้นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าครูผู้สอนมีการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4, 5 และ 6 ในระดับใกล้เคียงกัน | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | การจัดการเรียนรู้ | en_US |
dc.subject | เทคโนโลยีสารสนเทศ -- การศึกษาการใช้ | en_US |
dc.subject | เทคโนโลยีสารสนเทศ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | en_US |
dc.title | การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | Learning management to promote information technology usage for upper secondary school students under department of education, Bangkok Metropolitan administration | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | This research aimed to 1) study learning management to promote information technology usage for upper secondary school students under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration 2) study problems and solutions of learning management to promote information technology usage for upper secondary school students under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration, and 3) compare grade 10, 11 and 12 students’ opinions on learning management to promote information technology usage for upper secondary school students under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration. This study was Survey Research. By applying Multistage Sampling, the sample consisted of 14 computer teachers and 290 upper secondary school students from 3 schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration. The research instruments, two sets of questionnaires were validated for the content validity by 3 experts with IOC (Index of Item Objective Congruence) between 0.67-1.00. The result of reliability test was 0.75. The data were collected by the researcher and analyzed by using percentage, mean ( X̅ ), standard deviation (S.D.) and compared for the opinions by F-test. The results showed that 1) the teachers’ learning management in promoting information technology usage for secondary school students under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration was in a high, 2) most of the teachers and the students had problems on the readiness of computers and related devices and the different of computer skills of students. The solutions included computer and related device maintenance, making-up class and supporting the students to have more/sufficient computer practice, and 3) all of the students’ opinions on the learning management were not significantly different in each class level. | en_US |
dc.description.degree-name | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | หลักสูตรและการสอน | en_US |
Appears in Collections: | EDU-CI-M-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tinna Abhivantanaporn.pdf | 3.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.