Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/770
Title: | การพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
Other Titles: | Development of technology competency for creating work pieces using stem learning process of grade 5 students |
Authors: | ปฐมาภรณ์ จิรพนธ์โชติการ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ศรีสมร พุ่มสะอาด |
Keywords: | กระบวนการเรียนรู้;เทคโนโลยีสารสนเทศ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา);นักเรียน -- การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีออกแบบชิ้นงานจากพลาสติกลูกฟูกหลังใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานจากพลาสติกลูกฟูกหลังใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาและ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้เทคโนโลยีออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานจากพลาสติกลูกฟูกก่อนและหลังใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2561 จากห้องเรียน 1 ห้อง จำนวน 30 คนจาก โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานีซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ 4 แผน และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีออกแบบชิ้นงาน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงาน เครื่องมือดังกล่าวตรวจสอบคุณภาพโดยตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน มีค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 สำหรับแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีออกแบบชิ้นงานและสร้างสรรค์ชิ้นงานมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 และ 0.96 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยจัดการเรียนรู้ตามแบบสะเต็มศึกษาด้วยตนเอง ทดสอบก่อนจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าร้อยละ (%) หาค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จากคะแนนความสามารถในการใช้เทคโนโลยีออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานของนักเรียน เปรียบเทียบความสามารถในการใช้เทคโนโลยีออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงาน ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้ โดยใช้การทดสอบค่าทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนทุกคนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีออกแบบชิ้นงานสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ สูงกว่าร้อยละ 70.00 ของคะแนนเต็ม โดยคะแนนอยู่ระหว่างร้อยละ 70.00 - 100.00 2) นักเรียนทุกคนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ สูงกว่าร้อยละ 70.00 ของคะแนนเต็มโดยคะแนนอยู่ระหว่างร้อยละ 73.00 - 100.00 3) นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีออกแบบชิ้นงานและสร้างสรรค์ชิ้นงานหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
metadata.dc.description.other-abstract: | This experimental research aimed to 1) study technology competency for designing corrugated plastic work pieces after using stem learning process, and 2) study technology competency for creating corrugated plastic work pieces after using stem learning process, and 3) compare technology competency for designing and creating corrugated plastic work pieces after using stem learning process. By applying cluster random sampling, the sample group consisted of 30 Grade 5 students studying at a school in Pathum Thani in Semester 1/2018. The research instruments included 1) the instruments for the teaching experiment: four learning management plans, 2) the instruments for data collection: competency tests for designing and creating corrugated plastic work pieces. All instruments were validated by three experts with IOC results of 0.67-1.00 for the learning management plans and 0.70-0.96 for the competency tests respectively. The researcher collected the data by applying the learning management plans as well as pretest and posttest. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test to compare the competency before and after applying the learning management plans. The results revealed that 1) every student had higher competency score for designing corrugated plastic work pieces than the standard one; higher than 70.00 points or ranging from 70.00-100.00 points, 2) every student had higher competency score for creating corrugated plastic work pieces the standard one; higher than 70.00 out of 100.00 points or ranging from 73.00-100.00 points, and 3) every student had higher competency for designing and creating corrugated plastic work pieces after using stem learning process with statistical significance at 0.01 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/770 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-CI-M-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pattamaporn Jiraponchotikarn.pdf | 3.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.