Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/812
Title: | ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแบ่งเซลล์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
Other Titles: | Effects of using STAD cooperative learning method on critical thinking about cell division of Mathayomsuksa IV students |
Authors: | จริยาภรณ์ จองญาติ |
metadata.dc.contributor.advisor: | วันทิกา เครือน้ำคำ |
Keywords: | การเรียนรู้แบบร่วมมือ;ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา);การแบ่งเซลล์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแบ่งเซลล์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ STAD ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์ จำนวน 4 แผนการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ และแบบบันทึกภาคสนามของครู ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Normalized gain <g> ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ 1) นักเรียนทุกคนมีทักษะการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นรายชั้นเรียนในเรื่องการแบ่งเซลล์ เท่ากับ 0.62 จัดอยู่ในระดับ Medium Gain 2) นักเรียนทุกคนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นรายชั้นเรียนเท่ากับ 0.53 จัดอยู่ในระดับ Medium Gain แสดงให้เห็นว่าแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการคิดวิเคราะห์นี้สามารถช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและช่วยส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่องการแบ่งเซลล์ได้ |
metadata.dc.description.other-abstract: | The aims of this research were to promote critical thinking and compare learning achievement of Mathayomsuksa IV students in biology on cell division using the STAD cooperative learning method with critical thinking skill. The subjects were selected by purposive sampling method from 37 students of Mattayomsuksa IV enrolled in the first semester of the academic year 2018. The research instruments were 4 lesson plans on cell division by using STAD cooperative learning method with critical thinking. The data collection instruments included the critical thinking skill tests, science learning achievement tests and field notes. The statistical data was analysed by the Normalized gain <g>. The results of the research were as follows: 1) the critical thinking skill of students post-test was higher than pre-test, and the class average normalized gain was in the medium gain (<g> = 0.62) 2) The students’ post-test scores of learning achievement were higher than the pre-test scores and the class average normalized gain was in the medium gain (<g> = 0.53). This indicated that the STAD cooperative learning method with critical thinking can promote critical thinking and improve students’ learning achievement on cell division. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การสอนวิทยาศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/812 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-TS-M-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jariyaporn Jongyat.pdf | 3.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.