Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/815
Title: ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ในรายวิชาชีววิทยา เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
Other Titles: Effect of using stem education on scientific creative thinking of Mathayom suksa 4 students in the biology topic of cell structure and function
Authors: อัญธิชา แสนทวีสุข
metadata.dc.contributor.advisor: กนกพร ฉายะบุระกุล
Keywords: ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- วิจัย;วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- วิจัย;การจัดการเรียนรู้ -- วิจัย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยนี้มีวตัถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และระดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียน ภายหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชีววิทยา ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา การวิจัย นี้เป็นการวิจัยเชิง ปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2561 จำนวน 23 คน 1 ห้องเรียน ได้มาจากการเลือก ตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็ม ศึกษา เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ จำนวน 4 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินการออกแบบผลงาน แบบประเมินผลงาน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา และแบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใชค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าที แบบไม่อิสระ (Dependent t-test) ซึ่งผลการวิจัย พบว่า หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษานัดเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์จากแบบวัดหลังเรียนอยู่ในระดับ “ดี” และจากแบบประเมินการออกแบบผลงานและแบบประเมินผลงานหลังเรียนพบว่า นักเรียนมีคะแนนความคิด สร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์อยู่ในนระดับ“ดีมาก” และหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา นักเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาอยู่ในระดับ “ดี” นอกจากนี้นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ทาง วิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและแตกต่างกัน อยา่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this study were to study level of student’s scientific creativity and level of student’s achievement after learning biology through the STEM learning approach and to compare student’s scientific creativity and student’s achievement before and after learning biology through the STEM learning approach. This study was classroom action research. The sample group was grade 10 students at a regional science school in Pathum Thani province during the first semester of academic year 2018. 23 students from one classroom were purposively sampled. The experimental tools were 4 lesson plans of STEM learning approach in biology in the topic of cell structure and function. The data collection tools were scientific creativity test, product design and product evaluation form for scientific creativity performance assessment, learning achievement test, and field notes. The data were analyzed by using a descriptive statistic including mean score, standard deviation and one sample t-test. The results presented that after using STEM learning approach, Students’ scientific creativity test mean score was rated at “good” level, from product design and product evaluation forms for scientific creativity performance assessment students’ scientific creativity mean score were rated at “very good” level. And after using STEM learning approach, the biology learning achievement was rated at “good” level. In addition, the scientific creativity tests mean posttest score of learning biology through the STEM learning approach was significantly higher than the mean pretest score (p = .05) and there was significant difference in the student’s achievement before and after using STEM learning approach at .05 confident interval.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การสอนวิทยาศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/815
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-TS-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Unticha Saentaweesook.pdf7.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.